วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2561

ทรัพย์สินบนผืนดินไทย


ทรัพย์สินบนผืนดิน

หลังจากเรียนจบออกมาทำงาน
แล้วบังเอิญได้ที่ดินมรดกจากครอบครัว
หรือตั้งใจหามาเองโดยน้ำพักน้ำแรง
ยังไม่รู้จะใช้ประโยชน์อย่างไร
เพราะผืนดินที่ครอบครองมีขนาดเล็กเหลือเกิน
หาไม้ผลยืนต้นหลากหลายชนิดมาปลูกทิ้งไว้
1 ไร่ปลูกได้ 80 ต้นโดยเฉลี่ย
1 งานปลูกได้ 16 ต้นขั้นต่ำ
ไม่นับแนวปลูกรอบแปลง

ไม้ยืนต้นรอบแปลง ควรปลูกเป็นไม้ตั้งตรง
กิ่งก้านไม่กว้างมาก ไม่ลุกล้ำพื้นที่โดยรอบ
เช่น ไผ่ สัก สะเดา มะรุม หม่อน

มีเวลาก็แวะเวียนมาดู พืชยืนต้นตายก็ซ่อม
ปล่อยให้พืชเหล่านี้เติบโตตามธรรมชาติ
ใบไม้หล่นไม่ต้องเก็บ  หญ้าขึ้นไม่ต้องตัด
เพิ่มปริมาณธาตุอาหารพืช ปรับสภาพดิน
ด้วยปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เศษซากพืชในสวน
ช่วยเหลือต้นพืชให้หาอาหารเองได้

เศษใบไม้ที่ปกคลุมผิวดิน จะช่วยรักษาความชื้นหน้าดิน
รากของวัชพืช จะช่วยรักษาระดับความชื้นในชั้นรากพืช

เศษซากพืชที่เน่าเปื่อยทับถมเกิดเป็นสารอินทรีย์
ย่อยสลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ เนื้อดิน จนกระทั่งเป็นชั้นดิน

ดินมีความอุดมสมบูรณ์ ปริมาณธาตุอาหารพืชสูง
ดินโปร่งร่วนซุย  รากพืชยืดยาวหาอาหารได้ดี
ระบายน้ำดี เป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตในดิน

มีผลผลิตออกมาก็แจกบ้าง รับประทานเองบ้าง

ความมั่นคงทางด้านอาหาร เป็นความมั่นคงที่ยั่งยืนที่สุด
ในที่นี้เจ้าของแปลงไม่ได้เป็นผู้ผลิตอาหารโดยตรง
แต่เป็นธรรมชาติที่ดูแลกันเอง เรียกได้ว่า
นี่คือ 'ความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ' โดยแท้จริง

Home               Content

วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2561

กลไกของธุรกิจในประเทศไทย


ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม
ไม่ว่าจะกี่ยุคกี่สมัย ประเทศไทย
ก็ยังต้องพึ่งพาการเกษตร
ด้วยความเหมาะสมของสภาพที่ตั้ง
ทางภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ  ฤดูกาล

การตัดสินใจผลิตของเกษตรกร
ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังกล่าวข้างต้น
ผลผลิตที่ได้จึงมีปริมาณและคุณภาพที่ดี
แต่ในแง่ของการตลาด พบว่าล้มเหลว
เพราะมีผลผลิตชนิดเดียวกัน
ออกมาพร้อมกันจากแหล่งผลิตทั่วประเทศ
เมื่อมีปริมาณสินค้าล้นความต้องการของตลาด
ถึงแม้สินค้าจะมีคุณภาพดีเพียงใด
ระดับราคาสินค้าก็ถูกกดให้ต่ำลงโดยปริยาย
ต่างจากผลผลิตที่เก็บเกี่ยวนอกฤดูกาล
ถึงแม้คุณภาพผลผลิตจะไม่ดีมากนัก
แต่ก็สามารถจำหน่ายได้ในราคาที่สูง
เพราะมีปริมาณที่น้อยออกสู่ตลาด
เมื่อเทียบกับความต้องการของผู้บริโภค
แต่การผลิตผลผลิตเพื่อจำหน่ายนอกฤดูกาล
ต้องใช้เงินลงทุนเพื่อการจัดการที่สูงกว่าปกติ
เกษตรกรส่วนใหญ่จึงไม่สามารถทำได้

เกษตรกรจึงควรตัดสินใจผลิตพืช
จำนวนมากชนิดขึ้น ในพื้นที่ผลิตที่เล็กลง
เพื่อมุ่งเน้นคุณภาพของผลผลิตนอกฤดูกาล
และลดความเสี่ยงในเรื่องของราคาผลผลิต
ในรูปแบบของการเกษตรแบบประณีต

ในอนาคตอันใกล้ การผลิตพืชเชิงเดี่ยว
จะไม่ใช่หนทางสร้างความอยู่รอดอีกต่อไป
เมื่อประเทศเพื่อนบ้านเริ่มหันมาผลิตพืช
แข่งขันกับเกษตรกรไทย ด้วยต้นทุนและ
ราคาขายที่ถูกกว่า ในระดับคุณภาพที่ใกล้เคียง
การยกระดับการผลิตพืชแบบผสมผสาน
ดูจะเป็นหนทางเดียวที่ช่วยได้ในอนาคต

Home               Content

วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2561

Seed Generation ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย


ยุคของธุรกิจเมล็ดพันธุ์เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว
นักธุรกิจเมล็ดพันธุ์ส่วนหนึ่งที่ก้าวข้ามทศวรรษ
มาพร้อมกัน ยังพอมองเห็นความเปลี่ยนแปลง
ถ้ายังพอจดจำกันได้

Seed 1.0 สายพันธุ์ OP ครองโลก
Seed 2.0 การก้าวเข้ามาของ F1 Hybrid
Seed 3.0 Seed-Production Productivity
Seed 4.0 High-Value Seeds

และก้าวเข้าสู่ยุค

Seed 5.0 Business Merger & Acquisition

ยุค 1.0 เกษตรกรปลูกผักสายพันธุ์พื้นบ้าน
เก็บเมล็ดพันธุ์กันเอง แบ่งปัน แจกจ่ายกันแล้ว
จึงบรรจุเพื่อจำหน่าย ในยุคเดียวกันนี้เริ่มมีบริษัท
นำเข้าเมล็ดพันธุ์ OP เข้ามาจำหน่าย บรรจุลง
กระป๋องวางจำหน่ายตามร้านค้าในพื้นที่เพาะปลูก
ความหลากหลายของชนิดและสายพันธุ์มีมากขึ้น
เมื่อเกษตรกรซื้อเมล็ดพันธุ์จากร้านค้ามาปลูก
และเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้ในรุ่นต่อไป

ยุค 2.0 บริษัทเมล็ดพันธุ์ระดับโลกเริ่มสยายปีก
เข้ามาสู่ภูมิภาคที่มีประชากรมากที่สุดในโลก
คือทวีปเอเชีย มากกว่า 3,000 ล้านคน
ด้วยที่ตั้งบนเส้นศูนย์สูตร
สภาพภูมิอากาศร้อนชื้นและกึ่งร้อนชื้น
ที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูงที่สุด
แห่งหนึ่งของโลก
เทคโนโลยีทางด้านการปรับปรุงพันธุ์ถูกพัฒนา
ขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง มีการส่งเสริมการลงทุนให้
บริษัทต่างชาติเข้ามาดำเนินกิจการ
ในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค
มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี เกิดสายพันธุ์พืชใหม่ๆ
ขึ้นมามากมาย การแข่งขันในธุรกิจ
ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างสร้างสรรค์
เกษตรกรได้รับประโยชน์จากการแข่งขันนี้
มีการพัฒนาสายพันธุ์ที่ตรงกับความต้องการ
ของตลาดมากกว่าในอดีต

ยุค 2.5 เป็นช่วงรอยต่อระหว่างยุคแห่งการพัฒนา
เมื่อเทคโนโลยีตัดต่อพันธุกรรม หรือ GMOs
ถูกแนะนำให้ชาวโลกรู้จักในฐานะของ 'ความหวัง'
ในการสร้างอาหารเลี้ยงประชากรโลกให้เพียงพอ
พืชอาหารหลายชนิดถูกนำเข้าสู่กระบวนการ
ตัดแต่งพันธุกรรม หรือจัดวางคู่เบสรหัสจีโนม
ของพืช และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ใหม่
ประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในฐานการวิจัยพืช GMOs
บริษัทเคมีเกษตรอันดับโลกทุกบริษัทมีโปรแกรม
พืช GMOs โดยเฉพาะ 'ข้าว' พืชอาหารทึ่สำคัญ
ของคนไทยและประชากรในภูมิภาคเอเชีย

ยุค 3.0 เมล็ดพันธุ์เป็นสินค้าที่มีชีวิต
ผลิตขึ้นมาจากปัจจัยดินฟ้าอากาศ แตกต่างจาก
สินค้าชนิดอื่นที่ผลิตได้ในระบบอุตสาหกรรม
ความเสี่ยง ความไม่แน่นอน ความคลาดเคลื่อน
ที่เกิดจากสภาพดินฟ้าอากาศมีสูง ปริมาณและ
คุณภาพของเมล็ดพันธุ์ที่ได้จากการผลิต
ไม่มีความแน่นอน
เทคโนโลยีการผลิตจึงถูกพัฒนาขึ้นมา
เพื่อเป็นสิ่งรับประกันว่าจะสามารถผลิตได้ตาม
ปริมาณและคุณภาพที่ต้องการ
การคัดเลือกสายพันธุ์จึงแตกต่างจากในยุคก่อน
ที่พิจารณาเฉพาะลักษณะสายพันธุ์ที่ต้องการ
เพิ่มเติมคือความคุ้มค่าของการลงทุนผลิต
สายพันธุ์ที่เป็นที่ต้องการของตลาดด้วย
นักพัฒนาผลิตภัณฑ์จึงต้องพิจารณา
งานปรับปรุงพันธุ์ งานคัดเลือกสายพันธุ์
การตลาด การผลิต คู่ขนานไปพร้อมกัน
เพื่อให้คุ้มค่าต่อการลงทุนผลิต ขายสินค้าในราคา
ที่เหมาะสม คู่ค้าหรือผู้จำหน่ายสามารถทำกำไรได้

ยุค 4.0 เมล็ดพันธุ์เป็นปัจจัยการผลิตต้นน้ำที่สำคัญ
การลงทุนจึงเริ่มต้นจากคุณภาพของเมล็ดพันธุ์
ความงอกและความตรงต่อสายพันธุ์มีสูง
การประกันคุณภาพมีส่วนสำคัญต่อปัจจัยเหล่านี้
การจำหน่ายเมล็ดพันธุ์แบบ Seed Count
จึงถือกำเนิดขึ้นมา ด้วยการรับประกันคุณภาพ
แบบเมล็ดต่อเมล็ด เพื่อสร้างความมั่นใจ
ให้กับเกษตรกรมืออาชีพผู้ปลูกพืชสายพันธุ์นั้น
ผู้ผลิตมีการจำกัดปริมาณการผลิตเมล็ดพันธุ์
เฉพาะสายพันธุ์ดังกล่าว และจำหน่ายในราคาที่
สูงกว่าสายพันธุ์อื่นในตลาดอย่างเด่นชัด
ผลประกอบการของบริษัทเมล็ดพันธุ์ส่วนใหญ่
ทำได้ดีกว่าในอดีต เมื่อจำกัดพื้นที่ผลิตเนื่องจาก
การวางแผนการผลิตทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มากยิ่งขึ้น

ยุค 4.5 จำหน่ายเมล็ดพันธุ์พร้อมองค์ประกอบ
ที่รับประกันความงอกและตรงต่อสายพันธุ์ อาทิ
เพาะต้นกล้าในวัสดุเพาะปลอดเชื้อ พืชเติบโตไว
เคลือบธาตุอาหารพืช สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
ลงบนผิวเมล็ดพันธุ์
เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโต และป้องกัน
การเข้าทำลายของโรคพืชและแมลง
ในระยะแรกของการเจริญเติบโต คือ ระยะกล้า
ได้ต้นกล้าที่แข็งแรง ปลอดโรค ความงอกดี
เจริญเติบโตดี ตรงตามสายพันธุ์

ยุค 5.0 ธุรกิจเมล็ดพันธุ์ถูกผนวกเข้าไปในกิจการ
โดยเฉพาะธุรกิจเคมีเกษตรโดยการเข้าซื้อกิจการ
ด้วยองค์ประกอบที่เหมาะสมลงตัว อาทิ
เป็นธุรกิจเกษตรที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลัก
เชื่อมโยงสินค้าใช้งานร่วมกันได้
สัดส่วนผลกำไรของกิจการสูงเมื่อเปรียบเทียบกับ
ธุรกิจหลัก กิจการอยู่ในตลาดหลักทรัพย์อยู่แล้ว
มูลค่าทางการตลาดไม่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับ
งบประมาณการเข้าซื้อกิจการเพื่อผลได้ทางภาษี
ส่วนหนึ่งพบว่า ภายหลังการเข้าซื้อกิจการ
ธุรกิจเมล็ดพันธุ์ในเครือถูกลดความสำคัญลง
เนื่องจากผู้บริหารระดับสูงไม่มีความเข้าใจธุรกิจ
มูลค่าธุรกิจมีขนาดเล็ก จึงถูกลดหลั่นลำดับ
ความสำคัญลงไป ผู้บริหารหน่วยธุรกิจต้องบริหาร
กิจการภายใต้ทรัพยากรที่จำกัด การประเมิน
ผลสัมฤทธิ์ทำได้ยาก เนื่องจากระยะเวลาที่ใช้
ในการเข้าสู่ตลาดนานกว่ากิจการหลัก

เห็นได้ว่า ตั้งแต่ยุค 1.0 จนกระทั่งยุค 5.0
จากสินค้าไม่มีราคา หาได้ดาษดื่น แจกก็ไม่มีใครสน
มาเป็นสินค้าที่ขายแบบยกล็อต เหมาโหล
เพิ่มมูลค่าจากความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า
ในราคาที่ยอมจ่าย
จนกระทั่งสามารถขายหน่วยธุรกิจได้ในราคาที่สูง
เอาไปทำมาหากินต่อได้เลย ทั้งหมดนี้
เป็นลำดับขั้นของการเพิ่มมูลค่า (Capital Gain)
ตั้งแต่สินค้ามูลค่าต่ำจนกระทั่งเป็นองค์กรธุรกิจ
ที่บรรษัทขนาดใหญ่ซื้อกิจการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่ง
ของหน่วยธุรกิจที่สร้างภาพลักษณ์และผลกำไร

นับจากยุค 5.0 ธุรกิจเมล็ดพันธุ์ก็ยังก้าวต่อไป
สายพันธุ์ใหม่ๆ ก็ยังถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้รองรับกับรูปแบบการผลิตในอนาคต
ในยุค 6.0 ที่กำลังจะมาถึง การคัดสายพันธุ์แท้
จากธรรมชาติโดยเกษตรกรมืออาชีพจะทวี
บทบาทความสำคัญให้กับธุรกิจมากยิ่งขึ้น
เกษตรกรรายย่อยจะสามารถเป็นเจ้าของ
สายพันธุ์แท้ได้จากการค้นหา รวบรวม คัดเลือก
คัดพันธุ์แท้ ผลิตพันธุ์ขยายและพันธุ์การค้า
เพื่อจำหน่ายในแบรนด์ของตน รวมถึงการออก
สิทธิบัตร & การคุ้มครองพันธุ์พืช
ตามพ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 และ
พ.ร.บ. คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542
เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน
ของกิจการขนาดเล็กแต่เข้มแข็งกว่าที่เคย

Home               Content

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2561

จะปลูกอะไรดี


ปัญหาโลกแตกของคนมีทุน + รักการทำการเกษตร + มีฝัน
+ ไม่มีประสบการณ์ + ไม่มี (แหล่ง) ข้อมูล + (ตัวเอง) ไม่ชัดเจน
อยากจะปลูกอะไรสัก (หลาย) อย่างที่คุ้มค่ากับการลงทุน
ทุนไม่หาย กำไรนิดหน่อย ขาดทุนไม่ว่า แค่อยากทำ
มองย้อนกลับไปที่ภาพในจินตนาการเลยครับ
แล้วตั้งเป้าว่าจะทำให้ได้แบบนั้นเป๊ะ
นั่นแหละครับคือคำตอบ ...

แต่แล้ว !!! ก็จะมีคำถามตามมาว่า แล้วมันจะคุ้มเหรอ ???
ถ้าใช้เกณฑ์คือความคุ้มค่า แนะนำให้ฝากธนาคาร สหกรณ์ออมทรัพย์
สลากออมสิน/ ธกส. พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ ตราสารหนี้อื่นๆ
ผมยืนยันว่าคุ้มครับ ทุนไม่หาย กำไรนิดหน่อย ไม่มีขาดทุน

คนทำเกษตรมีเหตุผลไม่กี่ข้อ เท่าที่นึกออก
เป็นกิจการของครอบครัว ต้องการทำเป็นอาชีพ ใจรัก
สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับที่ดิน เห็นช่องทางธุรกิจแล้ว ฯลฯ
มีเหตุผลอื่นๆ มากกว่านี้ เติมคำลงในช่องว่างด้านล่างเลยนะครับ " ... "
แบ่งปันกันไปเป็นวิทยาทาน

เสี่ยงไหม ???
เสี่ยงครับ !!!
ปัจจัยแวดล้อมทุกอย่างเสี่ยง (Risk) ทั้งหมด
แล้วยังมีความไม่แน่นอน (Uncertainty) กอปรเข้าไปอีก

นอกจากฤดูกาล ดินฟ้าอากาศ รอบการระบาดของศัตรูพืช
ราคาผลผลิต กำลังซื้อของตลาด ก็ยังมีเงื่อนของเวลา
พืชทุกชนิดมีอายุการเจริญเติบโต
ผักก็เร็วหน่อย 1 - 4 เดือน
ข้าวหรือพืชไร่ก็หลายเดือน
ไม้ยืนต้นว่ากันเป็น (หลาย) ปีกว่าจะได้เก็บเกี่ยว
ถ้าใจร้อน แนะนำให้เพาะถั่วงอกครับ
ว่ากันเป็นวัน ... นานไปไหมครับ

พืชทุกชนิด ตั้งแต่เริ่มคิดจะปลูก ควักกระเป๋าตังค์จ่ายอย่างเดียวครับ
ค่าเช่า ค่าแรง วัสดุอุปกรณ์ วัตถุดิบ กว่าจะได้ทุนคืน หรือเห็นกำไร
ถ้าเจอขาใหญ่รับน้อง รอบนั้นก็ทุนหาย กำไรหด เข็ดกันไป
เคยสอบถามเกษตรกรผู้ปลูกผักหลายท่าน ทั้งชาวเขา ชาวเราพื้นราบ
ตอบตรงกันครับ ...

ปลูกผักปีละ 4 รุ่น ขาดทุนยับเละ 3 รุ่น ขอ 1 รุ่นราคาเจ๋งๆ
ต้นทุนที่หายไปได้คืนทั้งหมด กำไรหลังหักต้นทุนสำหรับปีต่อไป เหลืออีกบาน
ฟังพี่เขาเล่า อยากลาออกจากงานมันเดี๋ยวนั้นมาทำแบบพี่เขาบ้าง
ลมบนเขาพัดตึ้ง ดึงสติกลับมา เฮ่ยๆๆๆๆ ... มันไม่ใช่ทาง
แบบนี้ก็ไม่ไหวครับ  หัวใจจะวาย บางปีมากำไรรุ่นสุดท้าย
เครื่องมือที่ใช้หลักๆ คือความสม่ำเสมอ เขาไม่เลิกล้มครับ
ท้อได้ แต่ห้ามถอย ทำมันจนสำเร็จ ปีนี้ไม่ได้ ก็ว่ากันใหม่ปีหน้า

ถ้าจะถามว่าทำอย่างไรถึงจะได้รายได้ดีจากการทำการเกษตร
มีข้อแนะนำง่ายๆ แต่มีคนทำน้อย จนถึงไม่ทำกันเลย
ให้คิดต่างจากเกษตรกรท่านอื่นครับ ทำง่ายไหมครับ

ปลูกและเก็บเกี่ยวไม่พร้อมกับคนอื่น เร็วกว่า ช้ากว่า ได้หมด
ไม้ผลทำนอกฤดู ผักปลูกให้เร็วขึ้น
นี่คือการใช้ประโยชน์จากจังหวะเวลา

หาตลาดรับซื้อล่วงหน้า มีที่ขาย ราคาชัดเจน
ทีนี้ก็มุ่งเน้นไปที่การเพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิต
นี่คือการประกันความเสี่ยง

ปลูกพืชแบบ intensive farming
ในจำนวนต้น ขนาดพื้นที่ที่สามารถจัดการด้วยทรัพยากรที่มี
เรากำลังพูดถึงประสิทธิผล การเพิ่มผลผลิตต่อไร่กันครับ

ปลูกพืชแบบเชิงเดี่ยวบนพื้นที่ขนาดใหญ่ในปริมาณที่มากพอ
นี่คือแนวคิด economy of scale การประหยัดโดยขนาด
เป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าเต็มประสิทธิภาพ

หรือจะทำไร่นาสวนผสม
เป็นการกระจายความเสี่ยง สร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง
สร้างจุดสมดุลของอุปสงค์และอุปทานให้กับผลผลิต

ปลูกพืชหมุนเวียนชนิดพืชให้ได้ทั้งปี
ทั้งพืชเศรษฐกิจและพืชบำรุงดิน
เป็นการใช้ที่ดินอย่างคุ้มค่า

ปลูกพืชเฉพาะฤดูที่ให้ราคาสูง
ใช้สถิติราคาตลาดในปีที่ผ่านมาเป็นตัวกำหนด
ใช้ต้นทุนและเทคโนโลยีในการผลิตสูง
เป็นการใช้ข้อมูลทางสถิติ ความรู้ในการจัดการที่เหมาะสม

รวมกลุ่มกันปลูก
จะพืชเดี่ยวหรือหลากชนิดได้หมด เพื่อสร้างอำนาจต่อรองกับตลาด
แบบนี้ยากหน่อย คนไทยไม่ชำนาญการทำงานเป็นหมู่คณะ

ทำเป็นรายได้เสริมในยามว่างจากการทำงาน
เป็นการเปลี่ยนเวลาว่างให้เกิดเป็นรายได้เพิ่ม
ลดความเครียดจากรายได้หลักที่ไม่เพียงพอกับรายจ่าย

มีความคิดอะไรดีๆ นอกจากนี้ แบ่งปันกันได้นะครับ " ... "

ที่สำคัญ หมั่นทำการตลาดให้กับผลผลิตของท่าน
ในรูปของการให้ข้อมูล ความรู้ วิธีการปลูก วิธีการนำไปรับประทาน
ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของกิจการ มาตรฐานความปลอดภัยที่ได้รับการรับรอง

ไม่ได้หวังอะไรมาก แค่ต้องการให้ท่านที่สนใจทำการเกษตร
ทำด้วยใจรัก มีความสุขกับการเฝ้ามองพืชผลที่ปลูกกับมือเจริญเติบโต
โดยไม่พะวงกับเรื่องรายได้ที่จะได้รับมากจนเกินไป

เงินซื้อความสุขได้จริง แต่ความสุขตีมูลค่าเป็นเงินไม่ได้ครับ
ปัญหาโลกแตกของคนมีทุน + รักการทำการเกษตร + มีฝัน
+ ไม่มีประสบการณ์ + ไม่มี (แหล่ง) ข้อมูล + (ตัวเอง) ไม่ชัดเจน
อยากจะปลูกอะไรสัก (หลาย) อย่างที่คุ้มค่ากับการลงทุน
ทุนไม่หาย กำไรนิดหน่อย ขาดทุนไม่ว่า แค่อยากทำ
มองย้อนกลับไปที่ภาพในจินตนาการเลยครับ
แล้วตั้งเป้าว่าจะทำให้ได้แบบนั้นเป๊ะ
นั่นแหละครับคือคำตอบ ...

แต่แล้ว !!! ก็จะมีคำถามตามมาว่า แล้วมันจะคุ้มเหรอ ???
ถ้าใช้เกณฑ์คือความคุ้มค่า แนะนำให้ฝากธนาคาร สหกรณ์ออมทรัพย์
สลากออมสิน/ ธกส. พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ ตราสารหนี้อื่นๆ
ผมยืนยันว่าคุ้มครับ ทุนไม่หาย กำไรนิดหน่อย ไม่มีขาดทุน

คนทำเกษตรมีเหตุผลไม่กี่ข้อ เท่าที่นึกออก
เป็นกิจการของครอบครัว ต้องการทำเป็นอาชีพ ใจรัก
สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับที่ดิน เห็นช่องทางธุรกิจแล้ว ฯลฯ
มีเหตุผลอื่นๆ มากกว่านี้ เติมคำลงในช่องว่างด้านล่างเลยนะครับ " ... "
แบ่งปันกันไปเป็นวิทยาทาน

เสี่ยงไหม ???
เสี่ยงครับ !!!
ปัจจัยแวดล้อมทุกอย่างเสี่ยง (Risk) ทั้งหมด
แล้วยังมีความไม่แน่นอน (Uncertainty) กอปรเข้าไปอีก

นอกจากฤดูกาล ดินฟ้าอากาศ รอบการระบาดของศัตรูพืช
ราคาผลผลิต กำลังซื้อของตลาด ก็ยังมีเงื่อนของเวลา
พืชทุกชนิดมีอายุการเจริญเติบโต
ผักก็เร็วหน่อย 1 - 4 เดือน
ข้าวหรือพืชไร่ก็หลายเดือน
ไม้ยืนต้นว่ากันเป็น (หลาย) ปีกว่าจะได้เก็บเกี่ยว
ถ้าใจร้อน แนะนำให้เพาะถั่วงอกครับ
ว่ากันเป็นวัน ... นานไปไหมครับ

พืชทุกชนิด ตั้งแต่เริ่มคิดจะปลูก ควักกระเป๋าตังค์จ่ายอย่างเดียวครับ
ค่าเช่า ค่าแรง วัสดุอุปกรณ์ วัตถุดิบ กว่าจะได้ทุนคืน หรือเห็นกำไร
ถ้าเจอขาใหญ่รับน้อง รอบนั้นก็ทุนหาย กำไรหด เข็ดกันไป
เคยสอบถามเกษตรกรผู้ปลูกผักหลายท่าน ทั้งชาวเขา ชาวเราพื้นราบ
ตอบตรงกันครับ ...

ปลูกผักปีละ 4 รุ่น ขาดทุนยับเละ 3 รุ่น ขอ 1 รุ่นราคาเจ๋งๆ
ต้นทุนที่หายไปได้คืนทั้งหมด กำไรหลังหักต้นทุนสำหรับปีต่อไป เหลืออีกบาน
ฟังพี่เขาเล่า อยากลาออกจากงานมันเดี๋ยวนั้นมาทำแบบพี่เขาบ้าง
ลมบนเขาพัดตึ้ง ดึงสติกลับมา เฮ่ยๆๆๆๆ ... มันไม่ใช่ทาง
แบบนี้ก็ไม่ไหวครับ  หัวใจจะวาย บางปีมากำไรรุ่นสุดท้าย
เครื่องมือที่ใช้หลักๆ คือความสม่ำเสมอ เขาไม่เลิกล้มครับ
ท้อได้ แต่ห้ามถอย ทำมันจนสำเร็จ ปีนี้ไม่ได้ ก็ว่ากันใหม่ปีหน้า

ถ้าจะถามว่าทำอย่างไรถึงจะได้รายได้ดีจากการทำการเกษตร
มีข้อแนะนำง่ายๆ แต่มีคนทำน้อย จนถึงไม่ทำกันเลย
ให้คิดต่างจากเกษตรกรท่านอื่นครับ ทำง่ายไหมครับ

ปลูกและเก็บเกี่ยวไม่พร้อมกับคนอื่น เร็วกว่า ช้ากว่า ได้หมด
ไม้ผลทำนอกฤดู ผักปลูกให้เร็วขึ้น
นี่คือการใช้ประโยชน์จากจังหวะเวลา

หาตลาดรับซื้อล่วงหน้า มีที่ขาย ราคาชัดเจน
ทีนี้ก็มุ่งเน้นไปที่การเพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิต
นี่คือการประกันความเสี่ยง

ปลูกพืชแบบ intensive farming
ในจำนวนต้น ขนาดพื้นที่ที่สามารถจัดการด้วยทรัพยากรที่มี
เรากำลังพูดถึงประสิทธิผล การเพิ่มผลผลิตต่อไร่กันครับ

ปลูกพืชแบบเชิงเดี่ยวบนพื้นที่ขนาดใหญ่ในปริมาณที่มากพอ
นี่คือแนวคิด economy of scale การประหยัดโดยขนาด
เป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าเต็มประสิทธิภาพ

หรือจะทำไร่นาสวนผสม
เป็นการกระจายความเสี่ยง สร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง
สร้างจุดสมดุลของอุปสงค์และอุปทานให้กับผลผลิต

ปลูกพืชหมุนเวียนชนิดพืชให้ได้ทั้งปี
ทั้งพืชเศรษฐกิจและพืชบำรุงดิน
เป็นการใช้ที่ดินอย่างคุ้มค่า

ปลูกพืชเฉพาะฤดูที่ให้ราคาสูง
ใช้สถิติราคาตลาดในปีที่ผ่านมาเป็นตัวกำหนด
ใช้ต้นทุนและเทคโนโลยีในการผลิตสูง
เป็นการใช้ข้อมูลทางสถิติ ความรู้ในการจัดการที่เหมาะสม

รวมกลุ่มกันปลูก
จะพืชเดี่ยวหรือหลากชนิดได้หมด เพื่อสร้างอำนาจต่อรองกับตลาด
แบบนี้ยากหน่อย คนไทยไม่ชำนาญการทำงานเป็นหมู่คณะ

ทำเป็นรายได้เสริมในยามว่างจากการทำงาน
เป็นการเปลี่ยนเวลาว่างให้เกิดเป็นรายได้เพิ่ม
ลดความเครียดจากรายได้หลักที่ไม่เพียงพอกับรายจ่าย

มีความคิดอะไรดีๆ นอกจากนี้ แบ่งปันกันได้นะครับ " ... "

ที่สำคัญ หมั่นทำการตลาดให้กับผลผลิตของท่าน
ในรูปของการให้ข้อมูล ความรู้ วิธีการปลูก วิธีการนำไปรับประทาน
ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของกิจการ มาตรฐานความปลอดภัยที่ได้รับการรับรอง

ไม่ได้หวังอะไรมาก แค่ต้องการให้ท่านที่สนใจทำการเกษตร
ทำด้วยใจรัก มีความสุขกับการเฝ้ามองพืชผลที่ปลูกกับมือเจริญเติบโต
โดยไม่พะวงกับเรื่องรายได้ที่จะได้รับมากจนเกินไป

เงินซื้อความสุขได้จริง แต่ความสุขตีมูลค่าเป็นเงินไม่ได้ครับ

Home               Content