วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2561

กลไกของธุรกิจในประเทศไทย


ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม
ไม่ว่าจะกี่ยุคกี่สมัย ประเทศไทย
ก็ยังต้องพึ่งพาการเกษตร
ด้วยความเหมาะสมของสภาพที่ตั้ง
ทางภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ  ฤดูกาล

การตัดสินใจผลิตของเกษตรกร
ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังกล่าวข้างต้น
ผลผลิตที่ได้จึงมีปริมาณและคุณภาพที่ดี
แต่ในแง่ของการตลาด พบว่าล้มเหลว
เพราะมีผลผลิตชนิดเดียวกัน
ออกมาพร้อมกันจากแหล่งผลิตทั่วประเทศ
เมื่อมีปริมาณสินค้าล้นความต้องการของตลาด
ถึงแม้สินค้าจะมีคุณภาพดีเพียงใด
ระดับราคาสินค้าก็ถูกกดให้ต่ำลงโดยปริยาย
ต่างจากผลผลิตที่เก็บเกี่ยวนอกฤดูกาล
ถึงแม้คุณภาพผลผลิตจะไม่ดีมากนัก
แต่ก็สามารถจำหน่ายได้ในราคาที่สูง
เพราะมีปริมาณที่น้อยออกสู่ตลาด
เมื่อเทียบกับความต้องการของผู้บริโภค
แต่การผลิตผลผลิตเพื่อจำหน่ายนอกฤดูกาล
ต้องใช้เงินลงทุนเพื่อการจัดการที่สูงกว่าปกติ
เกษตรกรส่วนใหญ่จึงไม่สามารถทำได้

เกษตรกรจึงควรตัดสินใจผลิตพืช
จำนวนมากชนิดขึ้น ในพื้นที่ผลิตที่เล็กลง
เพื่อมุ่งเน้นคุณภาพของผลผลิตนอกฤดูกาล
และลดความเสี่ยงในเรื่องของราคาผลผลิต
ในรูปแบบของการเกษตรแบบประณีต

ในอนาคตอันใกล้ การผลิตพืชเชิงเดี่ยว
จะไม่ใช่หนทางสร้างความอยู่รอดอีกต่อไป
เมื่อประเทศเพื่อนบ้านเริ่มหันมาผลิตพืช
แข่งขันกับเกษตรกรไทย ด้วยต้นทุนและ
ราคาขายที่ถูกกว่า ในระดับคุณภาพที่ใกล้เคียง
การยกระดับการผลิตพืชแบบผสมผสาน
ดูจะเป็นหนทางเดียวที่ช่วยได้ในอนาคต

Home               Content

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น