วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2561

กระบวนการจัดการต้นกล้าให้มีความแข็งแรงก่อนการย้ายปลูก


ปั่น-กรอก-กด-หยอด-ปาด

กระบวนการมาตรฐาน
ตามลำดับขั้นในการจัดการต้นกล้า
ต้นกล้าที่สมบูรณ์ ต้องมีระบบรากแข็งแรง
ช่วยให้พืชสามารถตั้งตัวได้อย่างรวดเร็ว
มีความสามารถในการหาอาหารได้ดี

โรคที่พบในระยะกล้า ได้แก่
เน่าคอดิน (Southern blight) 
กล้าเน่ายุบ (Damping off)

ใช้สารเคมีหรือเชื้อจุลินทรีย์ควบคุมได้

ปัญหาที่พบมากในโรงเพาะกล้า
คือมักจะเกิดตะไคร่น้ำบนหน้าดิน
เพราะอุณหภูมิและความชื้น
ที่เหมาะสมต่อการเจริญ
ของตะไคร่น้ำ

ตะไคร่น้ำจะขัดขวาง
การไหลของน้ำลงสู่ชั้นราก
ทำให้ต้นกล้าขาดน้ำ
และเกิดการเหี่ยวถาวร

อากาศร้อนมาก เกษตรกรก็ยิ่งรดน้ำมาก
เพราะกลัวต้นกล้าขาดน้ำ และเหี่ยวถาวร
แนะนำให้ดูสภาพต้นกล้า แทนที่จะดูหน้าดิน

Home               Content

วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2561

การป้องกันโรคทางดินโดยการใช้ Rootstock พันธุ์ดี


ในประเทศไทยนิยมใช้มะเขือพวงมาเป็น rootstock
สำหรับการ grafting มะเขือเทศอย่างแพร่หลาย
ในขณะที่มะเขือเทศป่าที่นำเข้าจากบังคลาเทศ
ก็เป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่มีความต้านทานต่อเชื้อเหี่ยวเขียว
สูงกว่า rootstock โดยทั่วๆ ไปที่ใช้กัน
เคยมีการทดสอบในพื้นที่ปลูกที่มีการระบาดของเหี่ยวเขียวอย่างรุนแรง
พบว่ามะเขือเทศป่าสามารถเจริญเติบโตได้เป็นปกติในพื้นที่การระบาด
ในขณะที่มะเขือเทศ F1 ของบริษัทชั้นนำของโลกกลับไม่รอดจากการเข้าทำลาย

Home               Content

วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ตัวอย่างปัญหาที่พบในการผลิตเมล็ดพันธุ์


1) BFB (Bacterial Fruit Blotch) ในพืชตระกูลแตงโม เป็นเชื้อที่ติดไปกับเมล็ด (Seed Borne) หากแก้ปัญหานี้ได้ quota การผลิตจะกลับเข้ามาในประเทศไทยมหาศาล (ฉีด Copper Hydroxide เพื่อป้องกันทุก 5 วัน นับจากวันติดดอกจนกระทั่งสิ้นสุดการเก็บเกี่ยว
2) Seed Vigor (ความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์) และ Seed Size (ขนาดของเมล็ดพันธุ์) ซึ่งส่งผลต่อจำนวนเมล็ดพันธุ์ต่อกิโลกรัม (Seed Count per Weight) ผู้ผลิตบางรายต้องการเมล็ดพันธุ์ที่เล็กแต่มีความแข็งแรงสูง ในขณะที่ผู้ผลิตส่วนใหญ่ไม่ได้ระบุขนาดของเมล็ดพันธุ์ เพียงแต่ต้องการเมล็ดพันธุ์ที่เต่ง ความแข็งแรงสูงเท่านั้น
3) สายพันธุ์ต้นพ่อที่นำเข้ามาจากต่างประเทศส่วนใหญ่มักจะมีปัญหาเรื่องความแข็งแรงและความพร้อมของเกสรตัวผู้ (Pollen) เพราะสภาพอากาศที่ร้อนชื้นของประเทศไท
4) ความแข็งแรงของต้นพืชมีผลต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์
ต้นที่สมบูรณ์เกินไป จะส่งผลโดยการลดปริมาณ ขนาด และความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ที่ได้ ผู้ผลิตจึงต้องการแนวทางการจัดการต้นพืชที่ไม่ให้สมบูรณ์จนเกินไปจนส่งผลต่อคุณภาพและปริมาณของเมล็ดพันธุ์
5) Seed Borne Disease (เชื้อโรคที่ติดไปกับเมล็ดพันธุ์) อาทิเช่น TMV (Tobacco Mottled Virus), BFB (Bacterial Fruit Blotch) ในขณะที่ TYLCV (Tomato Yellow Leaf Curl Virus) ที่มีพาหะคือ แมลงหวี่ขาว (White Fly) และ TSWV (Tomato Spotted Wilt Virus) ที่มีพาหะคือ เพลี้ยไฟ (Thrips) ไม่ได้เป็นเชื้อโรคที่ติดไปกับเมล็ดพันธุ์ แต่ก็ส่งผลต่อปริมาณผลผลิตไม่ใช่น้อย

@ สิ่งที่ต้องการ

1) พืชตระกูลแตงสามารถงอกได้ดีใน Brown Peat ส่วนมะเขือม่วงงอกได้ดีใน Dark Peat + Black Peat (1: 1) ส่วนผสมดังกล่าวทำให้รากสมบูรณ์ เดินได้ดี
2) ต้องการต้นกล้าที่มีความสมบูรณ์ของรากพืชมากกว่าความสมบูรณ์ของลำต้น
3) ตารางการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช
4) วิธีการจัดการโรคพืชทั่วไป อาทิเช่น ราน้ำค้างในพืชตระกูลแตง (70% ของความเสียหายในพืชตระกูลแตง), ใบจุดในมะเขือเทศ (Stemphylium Leaf Spot), เน่าคอดินในต้นกล้า (Damping - off) โดยใช้สารเคมี
5) สารป้องกันกำจัดฯ ที่สามารถฉีดในช่วงติดดอกได้ โรคที่พบได้แก่ ราแป้งในพริกพบช่วงหลังจากติดผลผลิต รวมทั้งมะเขือเทศและพืชตระกูลแตงที่มักจะพบโรค แมลงศัตรูพืชในช่วงผสมพันธุ์
6) สารป้องกันกำจัดฯ ที่ฉีดในช่วงผสมพันธุ์ ควรจะไม่มีกลิ่นหรือมีกลิ่นน้อยเพื่อความปลอดภัยของคนผสมพันธุ์
7) ปุ๋ยอินทรีย์ปรับสภาพดิน รองพื้น รวมทั้งปุ๋ยเคมี ธาตุ Nitrogen ควรจะอยู่ในรูป Nitrate ซึ่งจะช่วยให้ลำต้นของพืชไม่อวบจนเกินไป Fiber เยอะ ต้นแข็งแกร่ง
8) สารป้องกันกำจัดฯ ที่ราคาไม่แพง (ต้นทุนต่อหน่วยเปรียบเทียบ)

Home               Content

วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2561

เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่ไม่เคยหยุดนิ่ง


เกษตรกรไทยนักผลิตเมล็ดพันธุ์
ต้องปรับปรุงเทคนิคการผลิต
อยู่ตลอดเวลา
เนื่องจากความต้องการ
เมล็ดพันธุ์คุณภาพของโลก
ที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี
การปรับลดต้นทุนก็เป็นปัจจัยหนึ่ง
ที่นักเกษตรจะต้องช่วยกันคิด
เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร

ทุกวันนี้การผลิตสินค้าเกษตรทำได้ไม่ง่าย
สาเหตุจาก
สภาพดินฟ้าอากาศที่แปรปรวน
ส่งผลต่อการเติบโตของพืชและศัตรูพืช
พื้นที่ปลูกที่ผ่านการใช้งานมาอย่างหนัก
ศัตรูพืชที่สะสมและระบาดรุนแรงขึ้น

เทคนิคใหม่ๆ จึงต้องถูกนำมาใช้
เพื่อลดข้อจำกัดในการผลิต
ทำให้ความต้องการผู้เชี่ยวชาญ
ทางเทคนิคในการผลิตพืชมีสูงขึ้น
ตามระดับความต้องการอาหาร
ของประชากรโลก

สุขอนามัย ความปลอดภัยของอาหาร
เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคเริ่มให้ความสนใจ
เมล็ดพันธุ์ถูกแบ่งระดับตามวิธีการผลิต
เมล็ดพันธุ์ธรรมดา เมล็ดพันธุ์ปลอดโรค
เมล็ดพันธุ์อินทรีย์

ทั้งหมดนี้ถูกกำหนดจากความต้องการ
ของผู้บริโภค ซึ่งเป็นส่วนบนสุด
ของห่วงโซ่อาหารของโลก

ในอนาคตอันใกล้นี้ เราจะได้เห็น
เทคนิคการผลิตเมล็ดพันธุ์
ด้วยวิธีการใหม่ๆ ตามมาอีกมากมาย

Home               Content

วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ความก้าวหน้าของประเทศไทยในการเป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ที่สำคัญของโลก


ในวันนี้ประเทศไทยถือเป็นแหล่งผลิต
เมล็ดพันธุ์ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
ด้วยคุณภาพผลผลิตที่ส่งออกมายาวนาน
ทักษะของเจ้าหน้าที่เทคนิคและเกษตรกร
สภาพอากาศที่เหมาะสมตลอดทั้งปี
เมล็ดพันธุ์ที่ได้จึงมีคุณภาพดีเยี่ยม
เป็นที่ยอมรับของคู่ค้าทั่วโลก
สามารถนำไปจำหน่ายได้ในราคาที่สูง

นับจากในอดีตมีบริษัทต่างชาติเข้ามา
ตั้งฐานการผลิตในประเทศไทยนับสิบบริษัท
เนื่องจากจุดเด่นทางด้านสภาพอากาศ
ที่สามารถปลูกพืชได้ตลอดทั้งปี
แรงงานที่มีอย่างมากมาย
ต้นทุนแรงงานไม่ได้สูงนัก
หากเทียบกับในปัจจุบันซึ่งค่าจ้างแรงงาน
ที่สูงขึ้นเนื่องจากความเชี่ยวชาญที่สูงขึ้น
อีกทั้งเงื่อนไขทางการค้าที่ภาครัฐสนับสนุน
การลงทุนของต่างชาติในประเทศไทย

การถ่ายทอดเทคโนโลยี
ถูกส่งเข้ามาอย่างต่อเนื่อง
รูปแบบการผลิตเปลี่ยนไป
จากการผลิตในระบบแปลงเปิด
ก้าวเข้าสู่การผลิตในระบบปิด
'เพาะต้นกล้าลงบนวัสดุเพาะปลอดเชื้อ
อนุบาลต้นกล้าในโรงเรือนกันแมลง
เสียบยอดบนกิ่งพันธุ์ต้านทานโรคทางดิน
ปลูกลงในวัสดุปลูกปลอดเชื้อที่บรรจุในภาชนะ
จัดวางอย่างเป็นระเบียบในโรงเรือน
ที่มีการวางระบบการให้น้ำพืชอย่างเพียงพอ
สามารถจ่ายปุ๋ย สารควบคุมศัตรูพืช
ตามความต้องการของพืชได้รายวัน'
เมล็ดพันธุ์ที่ได้จึงมีมูลค่าสูงกว่าในอดีต
เนื่องจากผลิตภายใต้มาตรฐานความปลอดภัย
ที่ทั่วโลกยอมรับ
นี่จึงเป็นโอกาสของประเทศไทยในธุรกิจเมล็ดพันธุ์

Home               Content