วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2562

Bactericide Mania

Bactericides Mania

เชื้อแบคทีเรียตัวร้าย ต้องทำลายให้สิ้นซาก

โรคขอบใบทอง (Black Rot) ที่พบในพืชตระกูลกะหล่ำ ได้แก่ กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บร็อคโคลี่ คะน้า ผักกาดหัว แรดิช เทอร์นิพ ฯลฯ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas campestris pv. campestris แผลที่ใบมีลักษณะอาการแห้งจนเป็นสีน้ำตาลรูปสามเหลี่ยมแหลมเข้าโคนใบ มักพบที่ขอบใบแก่รอบนอกทรงพุ่ม ส่งผลให้พื้นที่ในการสังเคราะห์แสงของใบพืชลดลง ผลผลิตลดต่ำลงตามระดับความรุนแรง เกิดได้ทุกฤดูกาล ทุกสภาพพื้นที่ โรคสามารถลุกลามไปทั่วทั้งแปลงอย่างรวดเร็วในสภาพที่ดินและอากาศมีความชื้นสูง ระดับความเสียหายทางเศรษฐกิจปานกลาง ควบคุมป้องกันการเกิดโรคได้โดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปูนขาวปรับสภาพความเป็นกรด/ ด่างในดินเพื่อลดการสะสมของโรค ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดแบคทีเรียบนใบพืชและลงดินเพื่อยับยั้งการระบาด

Xando ธาตุอาหารพืชที่มีผลในการควบคุมการระบาดของโรคแบคทีเรียโดยเฉพาะเจาะจง สารจะถูกดูดซึมเข้าสู่ต้นพืชเพื่อคุ้มครองพืช ป้องกันการเข้าทำลายของโรคพืชได้เป็นระยะเวลายาวนาน
ฉีดพ่นในอัตรา 25 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร 2-3 ครั้ง ทุก 10 วัน เพื่อมุ่งเน้นการป้องกันการเกิดโรค

Backspin สารอนุพันธ์เชิงซ้อนสร้างการเจริญเติบโตทางลำต้น ออกฤทธิ์ทำลายเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราสาเหตุโรคพืชได้อย่างเฉียบพลันทันใจ โดยการสัมผัสกับส่วนที่โรคเข้าทำลายพืชโดยตรง
เมื่อพบอาการของโรค ฉีดพ่น 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตรทันทีเพื่อยับยั้งการระบาดลุกลามของโรค

Sergomil สารประกอบทองแดงที่ถูกจับยึดด้วยสารอินทรีย์คีเลทเชิงซ้อน ช่วยให้สารทองแดงดูดซึมเข้าสู่ต้นพืชได้อย่างรวดเร็วเพื่อการคุ้มครองต้นพืชจากโรคแบคทีเรียและเชื้อราสาเหตุโรคพืช
ฉีดพ่น 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตรได้ทุกระยะเพื่อป้องกันและยับยั้งการเกิดโรคโดยไม่เป็นพิษต่อพืช

www.paddymouse.com
Crops Solutions Circumstance






วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2562

การคัดเลือกสายพันธุ์กะหล่ำดอก


ในประเทศไทยนิยมปลูกกะหล่ำดอกตลอดทั้งปี
สายพันธุ์ที่เลือกใช้ในแต่ละฤดูกาล
แตกต่างกันตามอายุเก็บเกี่ยว
ฤดูต้นฝนนิยมปลูกพันธุ์เบา extra early 45 วัน
ฤดูฝนนิยมปลูกพันธุ์ early 50-55 วัน
ฤดูหนาวจึงปลูกพันธุ์ mid early 60-65 วัน
นับจากวันที่ย้ายปลูก

สายพันธุ์กะหล่ำดอกในโลก
มีอายุเก็บเกี่ยวตั้งแต่ 45 วันจนถึง 120 วัน
นับจากวันย้ายปลูก
สายพันธุ์หนัก หรือสายพันธุ์ที่มีอายุเก็บเกี่ยว
ยาวนาน นิยมปลูกในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็น
การนำสายพันธุ์หนักมาปลูกในพื้นที่เขตร้อน
พบว่ากะหล่ำดอกจะไม่สามารถให้ผลผลิตได้

ลักษณะกะหล่ำดอกที่ต้องการ
หน้าดอกสูง โค้งมน ราบเรียบ ไม่เป็นคลื่น
สีขาวใส ไม่ขุ่น ไม่ซีด ไม่มีขน ไม่มีสีม่วง
แทงดอกช้า

ลักษณะที่ไม่พึงประสงค์ที่ปรากฎออกมา
ล้วนเกิดจากสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสม

หน้าดอกเป็นขน ผิวดอกหยาบกระด้าง
หน้าดอกสีม่วง เกิดจากสภาพอากาศเย็น
หน้าดอกตะปุ่มตะป่ำ ไม่ราบเรียบ
เกิดจากก้านดอกย่อยเจริญเติบโตไม่พร้อมกัน
พืชได้รับปริมาณธาตุอาหารไม่สม่ำเสมอ
ในสภาพอากาศร้อน แห้งแล้ง ปากใบพืชจะปิด
รากพืชจะดูดสารละลายจากดินน้อย
ปริมาณธาตุอาหารจึงไม่เพียงพอ
ที่จะนำมาสร้างความเจริญเติบโตพร้อมกัน

การปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศที่แปรปรวน
ในแต่ละวัน จึงเป็นสิ่งสำคัญของพืชเมืองหนาว
ดังเช่นกะหล่ำดอกและพืชตระกูลกะหล่ำทุกชนิด

Home               Content

วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2562

หลักการคัดเลือกสายพันธุ์พืชที่เหมาะสม


พืชที่ปลูกอยู่ในพื้นที่ปลูกทุกพื้นที่ปลูกทั่วโลก
ล้วนถูกคัดสายพันธุ์มาแล้วทั้งสิ้น
ไม่ว่าจะโดยธรรมชาติหรือมนุษย์
จากหลักปฏิบัติ 2 ประการ
Natural Selection (การคัดเลือกโดยธรรมชาติ)
Product Development  (การพัฒนาผลิตภัณฑ์)

พืชจะดำรงเผ่าพันธุ์อยู่ได้ ก็ด้วยการปรับตัว
ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่พืชอาศัยอยู่

ตัวอย่างง่ายๆ ของลักษณะสายพันธุ์พืช
ที่เป็นที่ต้องการของเกษตรกร ได้แก่
พืชที่ปลูกส่งตลาดต้องทนฝนเพราะได้ราคาดี
พืชที่ปลูกส่งโรงงานแปรรูปมักปลูกในฤดูหนาว
เพื่อลดความเสี่ยงจากศัตรูพืชและภัยธรรมชาติ
จะต้องเป็นสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง
เนื่องจากราคาประกันผลผลิตมักจะไม่สูง

งานคัดเลือกสายพันธุ์เป็นงานที่ทำควบคู่ไปกับ
งานปรับปรุงพันธุ์ (Plant Breeding) ซึ่งต้อง
มีการทดสอบคู่ผสม (Cross Testing) จาก
สายพันธุ์พ่อ-แม่ (Parent Line) ที่แตกต่างกัน
ในภาคสนามที่มีความหลากหลายของสภาพแวดล้อม
ซึ่งลูกผสม F1 จะแสดงลักษณะที่แตกต่างกันออกมา
ไม่มากก็น้อย

ลักษณะสายพันธุ์ที่ดี ต้องมีลักษณะทางกายภาพ
ที่ตลาดต้องการ มีการปรับตัวให้เข้ากับ
สภาพแวดล้อมที่หลากหลาย (good Adaptability)

เก็บเกี่ยวเร็ว ทนทานต่อโรคแมลงศัตรูพืช
เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ยาวนาน สำหรับพืชที่มีการ
เก็บเกี่ยวได้ต่อเนื่อง ได้แก่ ผักผล เช่น พริก
มีขนาดและน้ำหนักที่ดี สำหรับพืชที่เก็บเกี่ยว
เพียงครั้งเดียว ได้แก่ ผักใบ เช่น กะหล่ำปลี

งานเหล่านี้ต้องใช้ทักษะและความชำนาญ
จากการฝึกฝนในพื้นที่จริง มีข้อมูลตลาดที่แม่นยำ
เพื่อให้ประสิทธิผลของงานเกิดประโยชน์กับหน่วยงาน
ที่มีหน้าที่เผยแพร่สายพันธุ์สู่เกษตรกรสูงที่สุด

Home               Content

วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2562

การปรับปรุงสายพันธุ์พืชและการตัดแต่งพันธุกรรม Traditional Plant-Breeding vs GMOs


ในปัจจุบัน ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจ
คลาดเคลื่อนในเรื่องของการปรับปรุงพันธุ์และ
การตัดแต่งพันธุกรรมสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะ
การปรับปรุงพันธุ์พืชอยู่ไม่ใช่น้อย

การปรับปรุงพันธุ์พืชคือการผสมลักษณะที่ดี
ของพืชอย่างน้อย  2 สายพันธุ์ เพื่อให้ได้ลักษณะ
ที่ต้องการในรุ่นลูก เช่น มีความแข็งแรง
ต้านทานโรค แมลง ผลผลิตมีสีสวย ติดผลดก
ขนาดผลใหญ่ อายุเก็บเกี่ยวเร็ว ลักษณะต้นสูง-ต่ำ
ที่เกิดจากลักษณะเด่นของสายพันธุ์พ่อและแม่
มาผสมกัน เกิดเป็นลูกผสม F1 Hybrid

การตัดแต่งพันธุกรรมก็มีวัตถุประสงค์เดียวกัน
คือต้องการลักษณะที่ดีในรุ่นลูก โดยการเข้าไป
ปรับปรุงคู่เบสรหัสพันธุกรรมในขั้นตอนเดียว
เกิดเป็นลักษณะที่พึงประสงค์โดยเฉพาะเจาะจง
เช่น ต้านทานหนอนแมลง ต้านทานยาฆ่าหญ้า
ต้านทานโรคไวรัส เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูงขึ้น

สิ่งที่แตกต่างของทั้ง 2 เทคนิคนี้ คือ เทคโนโลยี
การปรับปรุงพันธุ์ ใช้การทดสอบ เพื่อการคัดสรร
สายพันธุ์ลักษณะที่พึงประสงค์ นักปรับปรุงพันธุ์
ต้องมีความรู้ทางด้านสถิติ ทักษะด้านการสังเกต
เพื่อดูลักษณะที่ปรากฎในแปลงทดสอบสายพันธุ์
ของคู่ผสมสายพันธุ์พ่อ, แม่ และลูกผสม F1
การตัดแต่งพันธุกรรมเป็นงานของนักพันธุวิศวกรรม
ที่มีความรู้ทางด้านรหัสจีโนมของสิ่งมีชีวิต
คู่เบสที่สลับตำแหน่งกันจะทำให้สิ่งมีชีวิตแสดง
ลักษณะทางพันธุกรรมที่แตกต่างกัน โดยอาจจะ
ปรากฎที่ลักษณะภายนอก ขนาด สีสัน ความสูง
หรือลักษณะภายใน ความทนทานต่อสิ่งแวดล้อม
ความต้านทานโรค แมลง การตอบสนองต่อ
ปัจจัยการผลิตและสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช

งานพัฒนาทางชีวภาพทั้ง 2 ชนิดมีคุณูปการต่อ
การปรับปรุงคุณภาพของสิ่งมีชีวิต ทั้งด้านสุขภาพ
การขยายพันธุ์ การให้ผลผลิตของพืช สัตว์
หรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ รวมทั้งมนุษย์

ในปัจจุบันการศึกษาทางด้านการพัฒนา
รหัสพันธุกรรมยังคงมีอย่างต่อเนื่อง และก้าวหน้า
อย่างไม่หยุดยั้ง เป็นการรวบรวมข้อมูลทางชีวภาพ
เรียกว่า ชีวสารสนเทศศาสตร์ ที่ศึกษาเกี่ยวกับ
ลำดับคู่เบสของสิ่งมีชีวิต

ในอนาคตอันใกล้ งานพันธุวิศวกรรมศาสตร์
จะมีประโยชน์ต่อการแพทย์ การเกษตร เวชภัณฑ์
อุตสาหกรรมหนักและเบาอีกมากมาย

Home               Content

วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2562

Hotshot

"ฮ็อตช็อต" สุดยอดพริกมันแดงของโลก

"ฮ็อตช็อต" พริกมันแดงสายพันธุ์ที่ดีที่สุดในโลกยุคปัจจุบัน เกิดจากการพัฒนาปรับปรุงแก้ไขข้อด้อยของสายพันธุ์ดั้งเดิม ได้แก่ อายุเก็บเกี่ยว ความยาวของขั้วผล ขั้วลายที่เกิดจากเชื้อรา ทรงพุ่มและระบบรากที่แผ่กว้าง ความต้านทานโรคทางดิน ฯ
ที่ยังคงไว้ ได้แก่ ระดับความเผ็ดที่ยังคงเผ็ดน้อย สีสดแดงเพลิง เนื้อผลหนา ขนาดผลที่พอเหมาะ การแตกกิ่งแขนงแบบทวิภาคต่อเนื่อง ฯ
ข้อด้อยของพริกชนิดนี้ หากเก็บเกี่ยวในระยะผลสีช็อคโกแล็ตถึงสีก้ามปู ถึงแม้จะตั้งทิ้งไว้เพื่อรอการขายเป็นระยะเวลานานสักเท่าใด สีผลก็ไม่สามารถสุกแดงเต็มที่ได้เลย
"ฮ็อตช็อต" มีอายุเก็บเกี่ยวเร็ว เก็บเกี่ยวผลสีเขียวได้ภายในระยะเวลา 60 วัน ผลสุกแดงเก็บเกี่ยวได้ภายใน 85-90 วัน ทรงพุ่มแผ่ออกด้านข้างกว้าง ระบบรากแผ่ออกตามทรงพุ่ม ยึดเกาะหน้าดินในระดับชั้นรากดี ลำต้นจึงมีความแข็งแรงต้านทานลม โดดเด่นมากในการปลูกบนพื้นที่ลาดชัน นอกจากการปลูกในสภาพไร่ได้ดีเช่นเดียวกัน การต่อยอดพร้อมๆ กับการออกดอกดีมาก ขนาดผล 14-16 เซนติเมตรตามที่ตลาดต้องการ เป็นขนาดที่ไม่ใหญ่จนเกินไป ส่งผลให้การเก็บเกี่ยวผลผลิตมีความต่อเนื่องยาวนาน มีผลผลิตออกสู่ตลาดได้เกือบทุกวันตามที่ตลาดต้องการ
"ฮ็อตช็อต" เผ็ดน้อย เหมาะสำหรับเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร บดละเอียด (Paste) เพื่อผลิตซอสพริก พริกน้ำส้ม ผลสีแดงเพลิงพอเหมาะต่อการเป็นวัตถุดิบที่ปรุงแต่งได้ง่าย ปั่นแล้วเป็นเนื้อเดียวไม่แยกชั้น ใช้ประโยชน์ได้คุ้มค่า ผู้แปรรูปยังนิยมทำเป็นพริกดอง (Pickling) และส่งออกผลสด (Fresh) ไปยังต่างประเทศไกลๆ เนื่องจากขั้วผลยาวสะสมอาหารได้มาก อายุการเก็บรักษาภายหลังการเก็บเกี่ยวยาวนาน (Long Shelf Life) กว่าทุกสายพันธุ์ในพริกชนิดเดียวกัน

บรรจุซองฟอยล์จำนวน 4,000 เมล็ด อัตราความงอกดี มีความตรงตามสายพันธุ์สูง จำหน่ายในราคา 1,050 บาท พร้อมค่าขนส่ง









วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2562

การคัดเลือกวัสดุเพาะกล้าให้เหมาะสมกับชนิดพืช


พีทมอสที่นิยมนำมาใช้เพาะต้นกล้า
แบ่งโดยละเอียดตามอายุจะแบ่งได้ 5 ชนิดด้วยกัน
เรียงตามลำดับชั้นทับถมจากชั้นบนลงชั้นล่าง

1) White peat พีทสีขาว
2) Light peat พีทสีอ่อน
3) Brown peat พีทสีน้ำตาล
4) Dark peat พีทสีเข้ม
5) Black peat พีทสีดำ

ความแตกต่างของคุณสมบัติคือความสามารถในการดูดซับความชื้น
พีทสีดำจะมีความสามารถในการดูดซับความชื้นสูงที่สุด
มีคุณสมบัติเป็น Humus สูงที่สุด แต่อายุยังไม่มากพอที่จะเป็นสารอินทรีย์
จึงไม่เหมาะที่จะนำมาแปรรูปเป็นปุ๋ยอินทรีย์เพื่อใช้ในการเกษตร

พีทสีดำมีราคาสูงที่สุด ใช้ต้นทุนในการขุดเจาะสูงที่สุด
เนื่องจากถูกทับถมอยู่ชั้นล่างสุด ต่ำกว่าชั้นผิวดินหลายร้อยเมตร
บริษัทผู้ผลิตพีทมอสในยุโรปจึงไม่นิยมนำมาใช้ในการเกษตร
แต่นิยมนำมาทำเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตพลังงานให้ความร้อน
สำหรับในบ้านเรือนและอุตสาหกรรมทั่วไป

พีทมอสเป็นพืชน้ำที่แห้งทับถมกันเป็นชั้นภายใต้หิมะนับร้อยนับพันปี
จึงนำมาเผาเป็นเชื้อเพลิงได้เหมือนกับเศษซากพืชอื่นๆ

ด้วยคุณสมบัติของพีทมอสที่โปร่ง ร่วนซุย สะอาด ปราศจากโรค แมลง
มีอนุภาคขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ระบายน้ำ ระบายอากาศได้ดีกว่าอินทรีย์วัตถุ
บริษัทผู้ผลิตพีทมอสในยุโรปจึงนำมาผลิตเป็นวัสดุเพาะ วัสดุปลูกเพื่อการเกษตร

เกษตรกรไทยก็เพิ่งเริ่มใช้พีทมอสเพื่อการเพาะต้นกล้าเมื่อไม่นานมานี้

การเลือกใช้พีทมอสเพื่อการเพาะต้นกล้า ก็ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับชนิดพืช
พืชตระกูลพริก ยาสูบ ข้าว ข้าวโพดที่ต้องการระบบรากที่ดี
ก็ต้องเลือกใช้พีทมอสชนิดโปร่ง ได้แก่ พีทมอสสีน้ำตาล หรือพีทมอสสีขาว
พืชตระกูลแตง มะเขือเทศ พืชตระกูลกะหล่ำที่มีลักษณะต้นอวบน้ำ
สามารถใช้พีทมอสสีเข้มที่ดูดซับความชื้นได้ดี เพื่อสร้างความสมบูรณ์ของต้น
(ข้อมูลจากงานทดลองและการใช้จริงของเกษตรกร)

วัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ต้นกล้าพืชตั้งตัวอย่างรวดเร็วภายหลังการย้ายปลูก

วัตถุดิบทางธรรมชาติในประเทศไทยก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้
อาทิเช่น ดินขี้จอก หรือดินโคลนใต้บึงที่ทับถมมาเป็นระยะเวลายาวนาน
มีอินทรีย์วัตถุสูง สามารถนำมาใช้เพาะพืชตระกูลแตงได้เป็นอย่างดี
ในอุตสาหกรรมเพาะต้นกล้าข้าวก็นิยมใช้แกลบเผาเป็นวัสดุเพาะ
นอกจากจะมีราคาที่ไม่แพง ก็ยังมีประสิทธิภาพสูงในการเพาะต้นกล้าข้าวอีกด้วย
แต่ในปัจจุบันแกลบเผาถูกนำมาใช้เพื่อการผลิตพลังงานความร้อน
จึงค่อนข้างหายากมากขึ้น ต้นทุนก็สูงขึ้น จากต้นทุนวัตถุดิบและการขนส่ง
บางโรงเรือนก็หันมาใช้เปลือกไม้ยูคาลิปตัสที่มีสารแทนนินสูงมาใช้ทดแทน

ขุยมะพร้าวสามารถถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมกับวัสดุเพาะหลัก
เพื่อช่วยในการดูดซับความชื้นได้เป็นอย่างดี
จึงไม่นิยมใช้เป็นวัสดุเพาะเดี่ยว เพราะจะทำให้เกิดโรคพืชกับต้นกล้าได้

อีกทั้งปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกก็เป็นวัสดุเพาะที่เกษตรกรนำมาใช้
เป็นส่วนผสมหลักเพื่อใช้เป็นวัสดุเพาะ วัสดุปลูกได้เป็นอย่างดี
แต่ก็ต้องคัดเลือกวัตถุดิบที่ย่อยสลายสมบูรณ์แล้วเท่านั้น
มิฉะนั้นจะเกิดผลเสียกับต้นกล้ามากกว่าจะช่วยสร้างการเจริญเติบโต

เกษตรกรจึงควรเลือกใช้วัสดุเพาะให้เหมาะสมกับชนิดพืชที่ปลูกเป็นสำคัญ

ขั้นตอนการเพาะต้นกล้าของโรงเพาะต้นกล้าก็คล้ายๆ กัน
ปั่น -> กรอก -> กด -> หยอด -> ปาด

ปั่น: บดละเอียดพีทมอสที่บรรจุในถุงให้แตกออกและฟูขึ้น
กรอก: บรรจุพีทมอสพอหลวมๆ ลงในถาดเพาะต้นกล้า
กด: กดพีทมอสในหลุมเพาะเบาๆ เพื่อสามารถหยอดเมล็ดได้
หยอด: วางเมล็ดพันธุ์พืชที่พร้อมงอกลงในหลุมเพาะ
ปาด: กรอกพีทมอสคลุมเมล็ดพันธุ์ ปาดพีทมอสหน้าถาดให้เรียบ

จากนั้นจึงนำไปเรียงซ้อนกัน คลุมด้วยผ้าพลาสติกเพื่อกระตุ้นความงอก
แล้วนำถาดไปวางเรียงบนพื้นผิวเรียบเพื่อการจัดการขั้นตอนต่อไป

วิธีการตามขั้นตอนนี้จะสิ้นเปลืองพีทมอสมากกว่าการเพาะด้วยมือเปล่า
สิ่งที่ได้คือความรวดเร็ว หากต้องเพาะในปริมาณที่มาก และใช้แรงงานน้อยลง

Home               Content

วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2562

Red Thunder

"เรด ธันเดอร์" สุดยอดสายพันธุ์พริกเผ็ดยอดนิยมที่เป็นที่ต้องการมากที่สุดในประเทศไทย จากปริมาณการติดผลผลิตที่ให้ผลผลิตสูง เก็บเกี่ยวได้เร็ว ต่อเนื่องยาวนาน ปริมาณและคุณภาพผลผลิตสม่ำเสมอ มีลักษณะเป็นที่ต้องการของตลาด ทั้งบริโภคผลสดและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร ผลแข็ง เนื้อหนา มีอายุการเก็บรักษารอการขายภายหลังการเก็บเกี่ยวยาวนาน ความต้านทานโรคดี ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่แตกต่าง สามารถปลูกในสภาพไร่ผ่านฤดูฝนเพื่อลดต้นทุนการจัดการแปลง


บรรจุภัณฑ์มาตรฐานขนาด 50 กรัม


เมล็ดพันธุ์คุณภาพที่ผ่านการคัดเลือกและผลิตภายใต้ระบบที่ควบคุมตลอดอายุการเก็บเกี่ยว คุณภาพความงอกดี มีลักษณะตรงตามสายพันธุ์พริกเผ็ดที่ดีทุกประการ


ผลสีแดงเพลิงสดสวย รับประทานสดได้ดี ความเผ็ดระดับ 60,000 Scoville Heat Unit (SHU) เหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบรับประทานอาหารรสเผ็ดจัด ใช้ประกอบอาหารที่เน้นรสชาติที่เผ็ดร้อน


ผลสีเขียวปานกลางดูน่ารับประทาน ขนาดพอเหมาะ ขั้วแห้งความชื้นต่ำ เชื้อโรคไม่สามารถเข้าทำลายได้ ลดปัญหาขั้วลายที่เกิดจากเชื้อราสาเหตุโรคพืชจนต้องเด็ดขั้วทำให้ราคาผลผลิตตกต่ำ


ผลดี สีสวย ขนาดผลสม่ำเสมอ เก็บเกี่ยวได้ต่อเนื่อง ยาวนาน


เกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวคละได้ทั้งผลสีเขียวและสีแดงในเวลาเดียวกันขึ้นกับความต้องการของผู้รับซื้อและราคาผลผลิต ณ ขณะนั้น ไม่พบปัญหาต้นโทรม ถึงแม้จะเก็บเกี่ยวผลผลิตสุกแดงเป็นระยะเวลายาวนาน

จำหน่ายในราคา 1,050 บาทต่อซองบรรจุ 50 กรัม
(ราคาเมล็ดพันธุ์บวกค่าขนส่ง)
สั่งซื้อได้โดยตรงที่หน้าเว็บหรือติดต่อ
สิริวัชร์ สวนสวัสดิ์ (เอ้)
Line: siriwach.suansawat
E-mail: siriwach@gmail.com