พีทมอสที่นิยมนำมาใช้เพาะต้นกล้า
แบ่งโดยละเอียดตามอายุจะแบ่งได้ 5 ชนิดด้วยกัน
เรียงตามลำดับชั้นทับถมจากชั้นบนลงชั้นล่าง
1) White peat พีทสีขาว
2) Light peat พีทสีอ่อน
3) Brown peat พีทสีน้ำตาล
4) Dark peat พีทสีเข้ม
5) Black peat พีทสีดำ
ความแตกต่างของคุณสมบัติคือความสามารถในการดูดซับความชื้น
พีทสีดำจะมีความสามารถในการดูดซับความชื้นสูงที่สุด
มีคุณสมบัติเป็น Humus สูงที่สุด แต่อายุยังไม่มากพอที่จะเป็นสารอินทรีย์
จึงไม่เหมาะที่จะนำมาแปรรูปเป็นปุ๋ยอินทรีย์เพื่อใช้ในการเกษตร
พีทสีดำมีราคาสูงที่สุด ใช้ต้นทุนในการขุดเจาะสูงที่สุด
เนื่องจากถูกทับถมอยู่ชั้นล่างสุด ต่ำกว่าชั้นผิวดินหลายร้อยเมตร
บริษัทผู้ผลิตพีทมอสในยุโรปจึงไม่นิยมนำมาใช้ในการเกษตร
แต่นิยมนำมาทำเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตพลังงานให้ความร้อน
สำหรับในบ้านเรือนและอุตสาหกรรมทั่วไป
พีทมอสเป็นพืชน้ำที่แห้งทับถมกันเป็นชั้นภายใต้หิมะนับร้อยนับพันปี
จึงนำมาเผาเป็นเชื้อเพลิงได้เหมือนกับเศษซากพืชอื่นๆ
ด้วยคุณสมบัติของพีทมอสที่โปร่ง ร่วนซุย สะอาด ปราศจากโรค แมลง
มีอนุภาคขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ระบายน้ำ ระบายอากาศได้ดีกว่าอินทรีย์วัตถุ
บริษัทผู้ผลิตพีทมอสในยุโรปจึงนำมาผลิตเป็นวัสดุเพาะ วัสดุปลูกเพื่อการเกษตร
เกษตรกรไทยก็เพิ่งเริ่มใช้พีทมอสเพื่อการเพาะต้นกล้าเมื่อไม่นานมานี้
การเลือกใช้พีทมอสเพื่อการเพาะต้นกล้า ก็ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับชนิดพืช
พืชตระกูลพริก ยาสูบ ข้าว ข้าวโพดที่ต้องการระบบรากที่ดี
ก็ต้องเลือกใช้พีทมอสชนิดโปร่ง ได้แก่ พีทมอสสีน้ำตาล หรือพีทมอสสีขาว
พืชตระกูลแตง มะเขือเทศ พืชตระกูลกะหล่ำที่มีลักษณะต้นอวบน้ำ
สามารถใช้พีทมอสสีเข้มที่ดูดซับความชื้นได้ดี เพื่อสร้างความสมบูรณ์ของต้น
(ข้อมูลจากงานทดลองและการใช้จริงของเกษตรกร)
วัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ต้นกล้าพืชตั้งตัวอย่างรวดเร็วภายหลังการย้ายปลูก
วัตถุดิบทางธรรมชาติในประเทศไทยก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้
อาทิเช่น ดินขี้จอก หรือดินโคลนใต้บึงที่ทับถมมาเป็นระยะเวลายาวนาน
มีอินทรีย์วัตถุสูง สามารถนำมาใช้เพาะพืชตระกูลแตงได้เป็นอย่างดี
ในอุตสาหกรรมเพาะต้นกล้าข้าวก็นิยมใช้แกลบเผาเป็นวัสดุเพาะ
นอกจากจะมีราคาที่ไม่แพง ก็ยังมีประสิทธิภาพสูงในการเพาะต้นกล้าข้าวอีกด้วย
แต่ในปัจจุบันแกลบเผาถูกนำมาใช้เพื่อการผลิตพลังงานความร้อน
จึงค่อนข้างหายากมากขึ้น ต้นทุนก็สูงขึ้น จากต้นทุนวัตถุดิบและการขนส่ง
บางโรงเรือนก็หันมาใช้เปลือกไม้ยูคาลิปตัสที่มีสารแทนนินสูงมาใช้ทดแทน
ขุยมะพร้าวสามารถถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมกับวัสดุเพาะหลัก
เพื่อช่วยในการดูดซับความชื้นได้เป็นอย่างดี
จึงไม่นิยมใช้เป็นวัสดุเพาะเดี่ยว เพราะจะทำให้เกิดโรคพืชกับต้นกล้าได้
อีกทั้งปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกก็เป็นวัสดุเพาะที่เกษตรกรนำมาใช้
เป็นส่วนผสมหลักเพื่อใช้เป็นวัสดุเพาะ วัสดุปลูกได้เป็นอย่างดี
แต่ก็ต้องคัดเลือกวัตถุดิบที่ย่อยสลายสมบูรณ์แล้วเท่านั้น
มิฉะนั้นจะเกิดผลเสียกับต้นกล้ามากกว่าจะช่วยสร้างการเจริญเติบโต
เกษตรกรจึงควรเลือกใช้วัสดุเพาะให้เหมาะสมกับชนิดพืชที่ปลูกเป็นสำคัญ
ขั้นตอนการเพาะต้นกล้าของโรงเพาะต้นกล้าก็คล้ายๆ กัน
ปั่น -> กรอก -> กด -> หยอด -> ปาด
ปั่น: บดละเอียดพีทมอสที่บรรจุในถุงให้แตกออกและฟูขึ้น
กรอก: บรรจุพีทมอสพอหลวมๆ ลงในถาดเพาะต้นกล้า
กด: กดพีทมอสในหลุมเพาะเบาๆ เพื่อสามารถหยอดเมล็ดได้
หยอด: วางเมล็ดพันธุ์พืชที่พร้อมงอกลงในหลุมเพาะ
ปาด: กรอกพีทมอสคลุมเมล็ดพันธุ์ ปาดพีทมอสหน้าถาดให้เรียบ
จากนั้นจึงนำไปเรียงซ้อนกัน คลุมด้วยผ้าพลาสติกเพื่อกระตุ้นความงอก
แล้วนำถาดไปวางเรียงบนพื้นผิวเรียบเพื่อการจัดการขั้นตอนต่อไป
วิธีการตามขั้นตอนนี้จะสิ้นเปลืองพีทมอสมากกว่าการเพาะด้วยมือเปล่า
สิ่งที่ได้คือความรวดเร็ว หากต้องเพาะในปริมาณที่มาก และใช้แรงงานน้อยลง
เรียงตามลำดับชั้นทับถมจากชั้นบนลงชั้นล่าง
1) White peat พีทสีขาว
2) Light peat พีทสีอ่อน
3) Brown peat พีทสีน้ำตาล
4) Dark peat พีทสีเข้ม
5) Black peat พีทสีดำ
ความแตกต่างของคุณสมบัติคือความสามารถในการดูดซับความชื้น
พีทสีดำจะมีความสามารถในการดูดซับความชื้นสูงที่สุด
มีคุณสมบัติเป็น Humus สูงที่สุด แต่อายุยังไม่มากพอที่จะเป็นสารอินทรีย์
จึงไม่เหมาะที่จะนำมาแปรรูปเป็นปุ๋ยอินทรีย์เพื่อใช้ในการเกษตร
พีทสีดำมีราคาสูงที่สุด ใช้ต้นทุนในการขุดเจาะสูงที่สุด
เนื่องจากถูกทับถมอยู่ชั้นล่างสุด ต่ำกว่าชั้นผิวดินหลายร้อยเมตร
บริษัทผู้ผลิตพีทมอสในยุโรปจึงไม่นิยมนำมาใช้ในการเกษตร
แต่นิยมนำมาทำเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตพลังงานให้ความร้อน
สำหรับในบ้านเรือนและอุตสาหกรรมทั่วไป
พีทมอสเป็นพืชน้ำที่แห้งทับถมกันเป็นชั้นภายใต้หิมะนับร้อยนับพันปี
จึงนำมาเผาเป็นเชื้อเพลิงได้เหมือนกับเศษซากพืชอื่นๆ
ด้วยคุณสมบัติของพีทมอสที่โปร่ง ร่วนซุย สะอาด ปราศจากโรค แมลง
มีอนุภาคขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ระบายน้ำ ระบายอากาศได้ดีกว่าอินทรีย์วัตถุ
บริษัทผู้ผลิตพีทมอสในยุโรปจึงนำมาผลิตเป็นวัสดุเพาะ วัสดุปลูกเพื่อการเกษตร
เกษตรกรไทยก็เพิ่งเริ่มใช้พีทมอสเพื่อการเพาะต้นกล้าเมื่อไม่นานมานี้
การเลือกใช้พีทมอสเพื่อการเพาะต้นกล้า ก็ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับชนิดพืช
พืชตระกูลพริก ยาสูบ ข้าว ข้าวโพดที่ต้องการระบบรากที่ดี
ก็ต้องเลือกใช้พีทมอสชนิดโปร่ง ได้แก่ พีทมอสสีน้ำตาล หรือพีทมอสสีขาว
พืชตระกูลแตง มะเขือเทศ พืชตระกูลกะหล่ำที่มีลักษณะต้นอวบน้ำ
สามารถใช้พีทมอสสีเข้มที่ดูดซับความชื้นได้ดี เพื่อสร้างความสมบูรณ์ของต้น
(ข้อมูลจากงานทดลองและการใช้จริงของเกษตรกร)
วัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ต้นกล้าพืชตั้งตัวอย่างรวดเร็วภายหลังการย้ายปลูก
วัตถุดิบทางธรรมชาติในประเทศไทยก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้
อาทิเช่น ดินขี้จอก หรือดินโคลนใต้บึงที่ทับถมมาเป็นระยะเวลายาวนาน
มีอินทรีย์วัตถุสูง สามารถนำมาใช้เพาะพืชตระกูลแตงได้เป็นอย่างดี
ในอุตสาหกรรมเพาะต้นกล้าข้าวก็นิยมใช้แกลบเผาเป็นวัสดุเพาะ
นอกจากจะมีราคาที่ไม่แพง ก็ยังมีประสิทธิภาพสูงในการเพาะต้นกล้าข้าวอีกด้วย
แต่ในปัจจุบันแกลบเผาถูกนำมาใช้เพื่อการผลิตพลังงานความร้อน
จึงค่อนข้างหายากมากขึ้น ต้นทุนก็สูงขึ้น จากต้นทุนวัตถุดิบและการขนส่ง
บางโรงเรือนก็หันมาใช้เปลือกไม้ยูคาลิปตัสที่มีสารแทนนินสูงมาใช้ทดแทน
ขุยมะพร้าวสามารถถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมกับวัสดุเพาะหลัก
เพื่อช่วยในการดูดซับความชื้นได้เป็นอย่างดี
จึงไม่นิยมใช้เป็นวัสดุเพาะเดี่ยว เพราะจะทำให้เกิดโรคพืชกับต้นกล้าได้
อีกทั้งปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกก็เป็นวัสดุเพาะที่เกษตรกรนำมาใช้
เป็นส่วนผสมหลักเพื่อใช้เป็นวัสดุเพาะ วัสดุปลูกได้เป็นอย่างดี
แต่ก็ต้องคัดเลือกวัตถุดิบที่ย่อยสลายสมบูรณ์แล้วเท่านั้น
มิฉะนั้นจะเกิดผลเสียกับต้นกล้ามากกว่าจะช่วยสร้างการเจริญเติบโต
เกษตรกรจึงควรเลือกใช้วัสดุเพาะให้เหมาะสมกับชนิดพืชที่ปลูกเป็นสำคัญ
ขั้นตอนการเพาะต้นกล้าของโรงเพาะต้นกล้าก็คล้ายๆ กัน
ปั่น -> กรอก -> กด -> หยอด -> ปาด
ปั่น: บดละเอียดพีทมอสที่บรรจุในถุงให้แตกออกและฟูขึ้น
กรอก: บรรจุพีทมอสพอหลวมๆ ลงในถาดเพาะต้นกล้า
กด: กดพีทมอสในหลุมเพาะเบาๆ เพื่อสามารถหยอดเมล็ดได้
หยอด: วางเมล็ดพันธุ์พืชที่พร้อมงอกลงในหลุมเพาะ
ปาด: กรอกพีทมอสคลุมเมล็ดพันธุ์ ปาดพีทมอสหน้าถาดให้เรียบ
จากนั้นจึงนำไปเรียงซ้อนกัน คลุมด้วยผ้าพลาสติกเพื่อกระตุ้นความงอก
แล้วนำถาดไปวางเรียงบนพื้นผิวเรียบเพื่อการจัดการขั้นตอนต่อไป
วิธีการตามขั้นตอนนี้จะสิ้นเปลืองพีทมอสมากกว่าการเพาะด้วยมือเปล่า
สิ่งที่ได้คือความรวดเร็ว หากต้องเพาะในปริมาณที่มาก และใช้แรงงานน้อยลง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น