วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2562

หลักการคัดเลือกสายพันธุ์พืชที่เหมาะสม


พืชที่ปลูกอยู่ในพื้นที่ปลูกทุกพื้นที่ปลูกทั่วโลก
ล้วนถูกคัดสายพันธุ์มาแล้วทั้งสิ้น
ไม่ว่าจะโดยธรรมชาติหรือมนุษย์
จากหลักปฏิบัติ 2 ประการ
Natural Selection (การคัดเลือกโดยธรรมชาติ)
Product Development  (การพัฒนาผลิตภัณฑ์)

พืชจะดำรงเผ่าพันธุ์อยู่ได้ ก็ด้วยการปรับตัว
ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่พืชอาศัยอยู่

ตัวอย่างง่ายๆ ของลักษณะสายพันธุ์พืช
ที่เป็นที่ต้องการของเกษตรกร ได้แก่
พืชที่ปลูกส่งตลาดต้องทนฝนเพราะได้ราคาดี
พืชที่ปลูกส่งโรงงานแปรรูปมักปลูกในฤดูหนาว
เพื่อลดความเสี่ยงจากศัตรูพืชและภัยธรรมชาติ
จะต้องเป็นสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง
เนื่องจากราคาประกันผลผลิตมักจะไม่สูง

งานคัดเลือกสายพันธุ์เป็นงานที่ทำควบคู่ไปกับ
งานปรับปรุงพันธุ์ (Plant Breeding) ซึ่งต้อง
มีการทดสอบคู่ผสม (Cross Testing) จาก
สายพันธุ์พ่อ-แม่ (Parent Line) ที่แตกต่างกัน
ในภาคสนามที่มีความหลากหลายของสภาพแวดล้อม
ซึ่งลูกผสม F1 จะแสดงลักษณะที่แตกต่างกันออกมา
ไม่มากก็น้อย

ลักษณะสายพันธุ์ที่ดี ต้องมีลักษณะทางกายภาพ
ที่ตลาดต้องการ มีการปรับตัวให้เข้ากับ
สภาพแวดล้อมที่หลากหลาย (good Adaptability)

เก็บเกี่ยวเร็ว ทนทานต่อโรคแมลงศัตรูพืช
เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ยาวนาน สำหรับพืชที่มีการ
เก็บเกี่ยวได้ต่อเนื่อง ได้แก่ ผักผล เช่น พริก
มีขนาดและน้ำหนักที่ดี สำหรับพืชที่เก็บเกี่ยว
เพียงครั้งเดียว ได้แก่ ผักใบ เช่น กะหล่ำปลี

งานเหล่านี้ต้องใช้ทักษะและความชำนาญ
จากการฝึกฝนในพื้นที่จริง มีข้อมูลตลาดที่แม่นยำ
เพื่อให้ประสิทธิผลของงานเกิดประโยชน์กับหน่วยงาน
ที่มีหน้าที่เผยแพร่สายพันธุ์สู่เกษตรกรสูงที่สุด

Home               Content

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น