วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2562

การปรับปรุงสายพันธุ์พืชและการตัดแต่งพันธุกรรม Traditional Plant-Breeding vs GMOs


ในปัจจุบัน ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจ
คลาดเคลื่อนในเรื่องของการปรับปรุงพันธุ์และ
การตัดแต่งพันธุกรรมสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะ
การปรับปรุงพันธุ์พืชอยู่ไม่ใช่น้อย

การปรับปรุงพันธุ์พืชคือการผสมลักษณะที่ดี
ของพืชอย่างน้อย  2 สายพันธุ์ เพื่อให้ได้ลักษณะ
ที่ต้องการในรุ่นลูก เช่น มีความแข็งแรง
ต้านทานโรค แมลง ผลผลิตมีสีสวย ติดผลดก
ขนาดผลใหญ่ อายุเก็บเกี่ยวเร็ว ลักษณะต้นสูง-ต่ำ
ที่เกิดจากลักษณะเด่นของสายพันธุ์พ่อและแม่
มาผสมกัน เกิดเป็นลูกผสม F1 Hybrid

การตัดแต่งพันธุกรรมก็มีวัตถุประสงค์เดียวกัน
คือต้องการลักษณะที่ดีในรุ่นลูก โดยการเข้าไป
ปรับปรุงคู่เบสรหัสพันธุกรรมในขั้นตอนเดียว
เกิดเป็นลักษณะที่พึงประสงค์โดยเฉพาะเจาะจง
เช่น ต้านทานหนอนแมลง ต้านทานยาฆ่าหญ้า
ต้านทานโรคไวรัส เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูงขึ้น

สิ่งที่แตกต่างของทั้ง 2 เทคนิคนี้ คือ เทคโนโลยี
การปรับปรุงพันธุ์ ใช้การทดสอบ เพื่อการคัดสรร
สายพันธุ์ลักษณะที่พึงประสงค์ นักปรับปรุงพันธุ์
ต้องมีความรู้ทางด้านสถิติ ทักษะด้านการสังเกต
เพื่อดูลักษณะที่ปรากฎในแปลงทดสอบสายพันธุ์
ของคู่ผสมสายพันธุ์พ่อ, แม่ และลูกผสม F1
การตัดแต่งพันธุกรรมเป็นงานของนักพันธุวิศวกรรม
ที่มีความรู้ทางด้านรหัสจีโนมของสิ่งมีชีวิต
คู่เบสที่สลับตำแหน่งกันจะทำให้สิ่งมีชีวิตแสดง
ลักษณะทางพันธุกรรมที่แตกต่างกัน โดยอาจจะ
ปรากฎที่ลักษณะภายนอก ขนาด สีสัน ความสูง
หรือลักษณะภายใน ความทนทานต่อสิ่งแวดล้อม
ความต้านทานโรค แมลง การตอบสนองต่อ
ปัจจัยการผลิตและสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช

งานพัฒนาทางชีวภาพทั้ง 2 ชนิดมีคุณูปการต่อ
การปรับปรุงคุณภาพของสิ่งมีชีวิต ทั้งด้านสุขภาพ
การขยายพันธุ์ การให้ผลผลิตของพืช สัตว์
หรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ รวมทั้งมนุษย์

ในปัจจุบันการศึกษาทางด้านการพัฒนา
รหัสพันธุกรรมยังคงมีอย่างต่อเนื่อง และก้าวหน้า
อย่างไม่หยุดยั้ง เป็นการรวบรวมข้อมูลทางชีวภาพ
เรียกว่า ชีวสารสนเทศศาสตร์ ที่ศึกษาเกี่ยวกับ
ลำดับคู่เบสของสิ่งมีชีวิต

ในอนาคตอันใกล้ งานพันธุวิศวกรรมศาสตร์
จะมีประโยชน์ต่อการแพทย์ การเกษตร เวชภัณฑ์
อุตสาหกรรมหนักและเบาอีกมากมาย

Home               Content

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น