วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

การคัดเลือกสายพันธุ์พริกขี้หนู


พริกขี้หนูในบ้านเรามีหลายชนิด
แบ่งได้ทั้งขนาดผลและชนิดสายพันธุ์
ที่นิยมปลูกตามแหล่งผลิตต่างๆ อาทิ
พริกหัวเรือ พริกจินดา พริกช่อไสว ฯลฯ

ผู้คนนิยมบริโภคพริกขี้หนูที่ความเผ็ดร้อน
จึงนิยมนำมาประกอบอาหารที่หลากหลาย
การรับประทานสดมีเพียงเป็นเครื่องแนม
กับอาหารรับประทานเล่นบางชนิดเท่านั้น

เกษตรกรนิยมปลูกพริกขี้หนูตลอดทั้งปี
แต่ละภาคปลูกไม่พร้อมกัน
คนไทยจึงมีผลผลิตพริกขี้หนูบริโภคได้ทั้งปี

พริกขี้หนูนำมาแปรรูปได้หลากชนิด
พริกบดทำน้ำจิ้ม พริกแห้ง พริกดอง
บรรจุขวดส่งออกและบริโภคภายในประเทศ
อุตสาหกรรมพริกแปรรูปจึงเติบโตขึ้นทุกปี
การบริโภคพริกขี้หนูคั่วก็เป็นที่นิยมของคนไทย
นำมารับประทานทั้งผลกับแหนมคลุก ฯลฯ
พริกจี่หรือพริกย่างไฟสดๆ ก็เป็นที่นิยม
นำมารับประทานกับก๋วยเตี๋ยว

พริกขี้หนูก็เหมือนกับพืชชนิดอื่นๆ
หากสามารถปลูกได้ในฤดูฝน
จะได้ราคาผลผลิตเฉลี่ยที่ดีที่สุด
เพราะดูแลรักษายาก เสียหายเยอะ
สายพันธุ์พริกขี้หนูที่ดีที่สุดจึงควรทนฝน
ต้านทานโรคพืชที่มากับความชื้นในฤดูฝน
ได้แก่ โรคที่เกิดจากเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย

โรงงานแปรรูปนิยมส่งเสริมให้ปลูกในฤดูแล้ง
เพราะปลูกง่าย ความชื้นในอากาศต่ำ โรคน้อย
ปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมีเป็นจำนวนมาก
ราคารับซื้อจึงไม่แพง สามารถซื้อเก็บเข้าห้องเย็น
เพื่อรอการนำออกมาแปรรูปได้นาน

ลักษณะสายพันธุ์พริกขี้หนูที่เกษตรกรต้องการ
จึงควรเก็บเกี่ยวได้เร็ว เก็บเกี่ยวได้ยาวนาน
การแตกยอดออกดอกทำได้ดี ต้านทานโรค
ระบบรากดี หาอาหารเก่ง

ลักษณะสายพันธุ์พริกขี้หนูที่ตลาดต้องการ
ขนาดผลใหญ่ ยาว เนื้อหนา คงสภาพได้นาน
ขั้วเป็นเยื่อใย ไม่มีความชื้น โรคไม่เข้าทำลาย
ขนาดขั้วยาวใหญ่ เพื่อการสะสมอาหาร
เลี้ยงผลรอการขายได้ยาวนาน
สีเขียวเข้ม สีแดงสด ผิวมัน ไม่มีรอยย่นบนผิว

พริกขี้หนูที่เหมาะทำแห้ง เปลือกบาง ผิวด้าน
แห้งแล้วผิวต้องไม่ย่นเนื่องจากเสียความชื้น
ขั้วยาว ตั้งตรง เมื่อแห้งไม่ดำ ไม่กรอบจนหัก

นอกจากความเผ็ดร้อนของพริกขี้หนูแล้ว
หากมีความหอมด้วยก็จะเพิ่มเสน่ห์
ให้กับพันธุ์พริกขี้หนูได้อีกพะเรอเกวียน

Home               Content

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น