วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562

โอกาสของเกษตรกรไทยในการผลิตพริกแห้งป้อนตลาดภายในประเทศทดแทนการนำเข้า


ปี 2553 ประเทศไทยมีพื้นที่ผลิตพริกทั้งประเทศ 474,717 ไร่
ได้ผลผลิตจากแปลงปลูกรวมกันทั้งหมด    609,195 ตันต่อปี

คิดเป็นมูลค่าการค้า 3,324.67 ล้านบาท
แบ่งเป็นมูลค่าการส่งออกถึง 2,597.95 ล้านบาท
ที่เกิดจากซอสพริก พริกแห้ง พริกป่น พริกสด พริกแช่แข็ง
ทั้งยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีจากการขยายตลาดอาหารไทยสู่ตลาดโลก
คู่ค้าที่สำคัญของไทยคือประเทศมาเลเซีย ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ ฯลฯ

พื้นที่ผลิตที่สำคัญ คือ
ภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แพร่ น่าน ลำพูน
ภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่ พิษณุโลก สุโขทัย พิจิตร ตาก
ภาคกลาง ได้แก่ นครสวรรค์ กำแพงเพชร อุทัยธานี

ในขณะที่ยอดนำเข้าพริกแห้ง
มีมูลค่าสูงถึง 1,718.74 ล้านบาท คิดเป็นปริมาณ 68,944 ตัน
จากความไม่เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ

ทั้งหมดนี้คือโอกาสของเกษตรกรไทย

เริ่มต้นจากแปลงผลิตขนาดเล็ก ในรูปแบบ intensive farming
ใช้แรงงานในครอบครัว ควบคุมการใช้สาร ลดต้นทุนการผลิต
จำหน่ายผลผลิตในท้องถิ่นในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการ
จดบันทึกข้อมูลการผลิต ต้นทุน วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ ราคาผลผลิต
เพื่อการวางแผนอย่างมีประสิทธิภาพในฤดูถัดไป
สร้างมาตรฐานฟาร์มที่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค
ป้อนผลผลิตเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ตลอดทั้งปี

เลือกใช้สายพันธุ์ที่เหมาะสมกับความต้องการของตลาด
พริกเพื่อการแปรรูป นิยมใช้พริกที่มีลักษณะเนื้อหนา
ผิวด้านในเป็นเยื่อใย ความยาวของผลไม่มาก
สีผลสุกแดงสดใส ไม่เข้มจนเกินไป
ขั้วและปลายผลไม่เน่าง่าย
เด็ดขั้วออกง่าย

สายพันธุ์ที่ดีต้องให้ผลผลิตสูง ติดผลดก ต่อเนื่อง ยาวนาน
ทรงพุ่มโปร่ง แตกกิ่งก้านแบบทวีคูณ พร้อมกับการติดดอก
ต้านทานโรคทางดิน ทางใบ  และการเข้าทำลายของแมลง
ระบบรากดี หาอาหารเก่ง ปลอดจากอาการขาดธาตุอาหาร
ปลูกในสภาพไร่ได้ดี  ติดผลภายนอกทรงพุ่ม เก็บเกี่ยวง่าย

Home               Content

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น