วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคาผลผลิตสินค้าเกษตร


ตามหลักเศรษฐศาสตร์ อุปสงค์ vs อุปทาน
เมื่อมีกำลังซื้อในตลาดสูง ก็จะมีกำลังผลิตสูง
และเมื่อมีกำลังผลิตสูง  ความต้องการก็จะเข้าสู่
'ภาวะสมดุล' ตัวชี้วัดระดับความต้องการของตลาด
ก็คือ 'ราคา' ระดับราคาสินค้าที่สูงบ่งบอกว่า
มีระดับความต้องการสินค้าชนิดนั้นสูง
โดยมีตัวแปรคือ 'ความยืดหยุ่น'

ผลผลิตเกษตรเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค
หนึ่งในปัจจัย 4 ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดในโลกล้วนต้องการอาหาร
การผลิตในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่มีส่วนเกิน
จะช่วยรักษาระดับราคาผลผลิตไว้ได้ในระดับสูง
ผู้จ่ายค่าผลผลิตที่จำเป็นนี้ ได้แก่ ผู้บริโภค

ผลผลิตเกษตรที่ใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อแปรรูปเป็นอาหาร
ราคาผลผลิตจะถูกผนวกเข้าไปเป็นต้นทุนการผลิต
โรงงานแปรรูปจึงพอใจระดับราคาที่อยู่ในระดับต่ำ
โรงงานมักส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตในปริมาณมาก
ในลักษณะล้นตลาด เพื่อลดอำนาจต่อรองของเกษตรกร

เมื่อกำหนดให้ระดับความต้องการของผู้บริโภคคงที่
ฤดูกาลผลิตก็มีผลต่อระดับราคาสินค้าเกษตร
เนื่องจากปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมากขึ้นหรือลดลง
ในฤดูฝนซึ่งมักจะพบปัญหาโรคพืชระบาด น้ำท่วม
ฤดูแล้ง มักจะพบปัญหาแมลงศัตรูพืช ปัญหาขาดน้ำ
ซึ่งจะทำให้เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ลดลง
ผลผลิตขาดแคลน ไม่เพียงต่อความต้องการของตลาด
ระดับราคาของผลิตจะสูงขึ้น
ตามปริมาณความต้องการของตลาด
ไม่ว่าคุณภาพของผลผลิตจะเป็นเช่นไรก็ตาม
ในทางกลับกัน เมื่อมีปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาด
มากกว่าปริมาณความต้องการซื้อ
ระดับราคาของผลผลิตจะลดต่ำลง
ไม่ว่าคุณภาพของผลผลิตจะดีเพียงใดก็ตาม

การผลิตสินค้าเกษตรเพื่อให้ได้ราคาสูงสุด
จึงควรมีการวางแผนการผลิตโดยยึดตามข้อมูล
ทางสถิติด้านราคา เพื่อให้ผลผลิตออกสู่ตลาด
ในช่วงที่ผลผลิตขาดแคลน ถึงแม้จะสามารถ
เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในปริมาณที่น้อยกว่า
ค่าเฉลี่ยผลผลิตที่เคยเก็บเกี่ยวได้ในฤดูปกติ
ก็ดูจะคุ้มค่ากว่าการขายผลผลิตในช่วงล้นตลาด

Home               Content

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น