วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ศัตรูพืชสร้างผลกระทบอย่างรุนแรงต่อปริมาณผลผลิตในแปลงปลูกของเกษตรกร


การเข้าโจมตีพืชปลูกโดยศัตรูพืช
ระดับความสามารถในการให้ผลผลิตของพืชปลูก
ลดลง โดยการรบกวนการสร้างการเจริญเติบโต
และการสร้างผลผลิต ทำให้ผลผลิตลดต่ำลงได้

วัชพืช แย่งน้ำ แย่งอาหารในดินจากพืช วัชพืช
หลายชนิดมีระบบรากลึกกว่าพืชหลักในแปลงปลูก
การให้น้ำ หว่านปุ๋ยจึงควรจำกัดพื้นที่ในทรงพุ่ม
ในแปลงที่ได้รับน้ำ ธาตุอาหารมากเกินไป วัชพืช
สามารถเจริญเติบโต มีทรงพุ่มสูงกว่าพืชประธาน
หรือปกคลุมต้นพืชประธาน เช่น ฝอยทอง
แย่งแสงแดดเพื่อการสังเคราะห์แสง
ทำให้พืชประธานหยุดการเจริญเติบโตได้

เชื้อรา เข้าทำลายพืชปลูกในสภาพที่มีความชื้นสูง
ในสภาพอากาศร้อนชื้นจะพบเชื้อรากลุ่มใบจุด
ในสภาพอากาศเย็นชื้นจะพบเชื้อรากลุ่มใบไหม้
และอาจจะพบการเข้าทำลายซ้ำของเชื้อแบคทีเรีย
จึงควรตัดแต่งทรงพุ่มของพืชประธานให้โปร่ง
เชื้อราบางชนิดอาศัยอยู่ในดิน เมื่อสภาพแวดล้อม
เหมาะสม มีความชื้นในดินสูง เชื้อราสามารถ
เข้าทำลายพืชจากส่วนโคนต้นได้

เชื้อแบคทีเรีย พบเกิดซ้ำในส่วนที่เป็นแผล
ที่เกิดจากเชื้อราภายหลังการเข้าทำลาย
ลักษณะเป็นจุดฉ่ำน้ำ, พบเป็นสะเก็ดบนหน้าใบ
และส่วนของลำต้น หรือพบเป็นเชื้อในดิน
ที่สามารถเข้าทำลายพืชปลูกทางท่อน้ำ ท่ออาหาร
การควบคุม pH ในดินให้เป็นกลาง
จะช่วยลดการระบาดของเชื้อแบคทีเรียลงได้

เชื้อไวรัส มักจะติดมาจากแมลงปากดูด
ซึ่งเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสเข้าสู่ต้นพืช มักจะพบ
อาการใบหงิกที่ส่วนปลายยอด ต้นพืชหยุดการ
เจริญเติบโตทันที ไม่สามารถให้ผลผลิตได้

แมลง พบการทำลายจากชนิดปากกัดและปากดูด
เป็นสาเหตุหลักของการเข้าทำลายของเชื้อไวรัส
ต้นพืชหยุดการเจริญเติบโต สูญเสียความสามารถ
ในการสังเคราะห์แสง เมื่อถูกลดพื้นที่ใบโดยการกัด
แมลงหลายชนิดวางไข่ส่วนใต้ใบและใต้ดิน
การตัดแต่งพุ่มให้โปร่ง การทำเขตกรรม
ไถพรวนดินในระยะเตรียมแปลง ปรับสภาพดิน
จะช่วยลดปริมาณการสะสมของแมลงศัตรูพืช
ในแปลงปลูกลงได้

หนอน เข้าทำลายต้นพืชโดยการกัดกินใบ
ทำให้พื้นที่ในการสังเคราะห์แสงลดลง
และถ่ายมูลใส่ใบพืช ทำให้เกิดเชื้อราในบริเวณ
ที่ถ่ายมูล หนอนบางชนิดฝังตัวอยู่ในดิน กัดกินรากพืช
ตัวแก่แมลงวันทองมักจะวางไข่ที่ผล ทำให้ผลผลิต
เสียหาย ขายไม่ได้ราคา

ศัตรูพืชอีกหลายชนิด ไฟโตพลาสมาในอ้อย
สาเหตุการเกิดโรคใบขาว เกิดจากการเข้าทำลาย
ของเพลี้ยจักจั่นหลังขาว  เพลี้ยจักจั่นปีกลายหยัก

การควบคุมโดยการเขตกรรม สร้างความแข็งแกร่ง
ให้กับต้นพืชด้วยธาตุอาหารที่เหมาะสม
ฉีดพ่นสารชีวภาพหรือสารสังเคราะห์ป้องกันกำจัด
ในระยะเวลาที่เหมาะสม ก่อนพบการระบาด
ตัดแต่งต้นพืชให้โปร่ง ลดการสะสมโรค แมลง
จะช่วยลดความรุนแรงของศัตรูพืชที่เข้าทำลาย
ลดต้นทุนการจัดการ ปริมาณผลผลิตก็เพิ่มขึ้น

Home               Content

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น