วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2562

เกษตรกรรมอินทรีย์


การทำเกษตรอินทรีย์คือการทำเกษตรกรรม
ที่อิงกับสภาพธรรมชาติ ให้ธรรมชาติดูแลกันเอง
มนุษย์เป็นเพียงผู้ควบคุมสมดุลทางธรรมชาติ
และเข้ามาใช้ประโยชน์จากผลผลิตส่วนเพิ่ม
จากธรรมชาติโดยไม่รบกวนสภาพแวดล้อม

การเกษตรอินทรีย์ที่แท้จริง
ยึดตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงพระราชทานแนวคิด
'เกษตรกรรมเพื่อยังชีพอย่างยั่งยืน'
ทุกชีวิตดำรงอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัยกัน
ไม่ได้ยึดตามมาตรฐานอินทรีย์ที่ถูกกำหนดขึ้นมา
โดยหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง
เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้โดย
บริโภคผลผลิตที่สามารถผลิตได้ในแปลงปลูก
จำหน่ายหรือแลกเปลี่ยนผลผลิตส่วนเกิน
แจกจ่ายส่วนขยายพันธุ์ให้กับเพื่อนบ้าน
ที่เป็นสมาชิกในชุมชน
เพื่อขยายศักยภาพการผลิตอาหารให้กับชุมชน

การจัดการพื้นที่ทำการเกษตรอินทรีย์
แบ่งเป็นพืชยืนต้น, พืชหมุนเวียน, พืชอาหาร,
ปศุสัตว์ และที่อยู่อาศัยในสัดส่วนที่พอเหมาะ
มีผลผลิตที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ตลอดทั้งปี
ส่วนที่เหลือจากอุปโภค บริโภคก็สามารถนำมา
เป็นอาหารของพืชและสัตว์เลี้ยงในพื้นที่ผลิต
บริหารจัดการด้วยแรงงานตนเองและครอบครัว

'ดิน หรือ เทหวัตถุ' เป็นปัจจัยสำคัญ
ของการผลิตอาหารในระบบเกษตรอินทรีย์
ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ จะมีอาหารของพืช
และสิ่งมีชีวิตในดิน พืชจะสามารถเจริญเติบโต
ได้อย่างสมบูรณ์ มีภูมิคุ้มกันต้านทานศัตรูพืช
ออกดอกออกผลตามฤดูกาล
ให้ผลผลิตได้อย่างพอเหมาะ

การใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกจากซากพืช มูลสัตว์
ที่ได้จากแปลงผลิต การคลุมดินด้วยเศษพืช
การนำเศษพืช เศษอาหารทำน้ำหมักชีวภาพ
เพื่อใช้ในแปลงผลิต ปลูกพืชคลุมดิน จะช่วยให้
พื้นที่ปลูกมีความอุดมสมบูรณ์อยู่เสมอ

ผลตอบแทนคือความมั่นคงทางด้านอาหาร
ที่เพียงพอต่อการบริโภคตลอดทั้งปี
มีรายได้เพิ่มจากส่วนที่เหลือจากการบริโภค
สามารถส่งต่อความมั่งคั่งเป็นมรดก
ให้กับลูกหลานได้ทำกินสืบไป

Home               Content

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น