วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

การควบคุมการเกิดศัตรูพืช


การเข้าทำลายของศัตรูพืช เกิดได้ตั้งแต่
ส่วนขยายพันธุ์ ได้แก่ เมล็ดพันธุ์ ท่อนพันธุ์
จากเชื้อสาเหตุของเชื้อรา, เชื้อแบคทีเรีย
และเชื้อไวรัสบางชนิดที่ปนเปื้อนมาจากแปลงผลิต
ป้องกันได้ตั้งแต่การคัดส่วนขยายพันธุ์ที่ปลอดเชื้อ
(Quality Control - QC)
หรือตรวจสอบในกระบวนการรับรองคุณภาพ
(Quality Assurance - QA)
ซึ่งเกษตรกรสามารถทำได้เองง่ายๆ
จากการสังเกต (QC) และการทดสอบ (QA)

เมื่อเข้าสู่ระยะปลูก
เชื้อสาเหตุโรคพืช แมลงศัตรูพืชสามารถปนเปื้อน
ได้จากธาตุทั้งสี่ ดิน น้ำ ลม (อากาศ) ไฟ (อุณหภูมิ)
ควบคุมความรุนแรงของการระบาดได้โดย
ปรับสภาพดิน ทำโครงสร้างทางกายภาพเนื้อดิน
ให้โปร่งร่วนซุย น้ำและอากาศถ่ายเทได้ดี
ดินที่แน่นทึบ รากพืชเจริญไม่ดี พืชเจริญเติบโตช้า
ทำคุณสมบัติให้เป็นกลาง ลดการสะสมเชื้อในดิน
รวมทั้งการวางไข่ของแมลงในดิน ไส้เดือนฝอย
ควบคุมปริมาณการให้น้ำเท่าที่พืชจำเป็นต้องใช้
ปริมาณความชื้นในดินที่สูงเกินไปจะส่งเสริม
การเพิ่มปริมาณของเชื้อโรคในดิน
ในฤดูฝนสามารถพบการระบาดของแมลงปากดูด
พาหะของเชื้อไฟโตพลาสมาในพืชตระกูลอ้อยได้
การตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง จะช่วยลดความชื้น
ลดอุณหภูมิภายในทรงพุ่มลงได้
ลดปัญหาการสะสมศัตรูพืชในบริเวณทรงพุ่ม

หากพบการเข้าทำลายของโรคหรือแมลงศัตรูพืช
ในระยะออกดอก จะเกิดรอยตำหนิที่ผลผลิต
เมื่อขยายขนาดผล ทำให้ขายผลผลิตไม่ได้ราคาดี

ตั้งแต่ระยะออกดอกจนกระทั่งให้ผลผลิต
พืชจะใช้พลังงานทั้งหมดในการสร้างผลผลิต
ความสามารถในการป้องกันตนเองจากศัตรูพืช
จะลดน้อยลง การให้ธาตุอาหารพืชในรูป
Amino acid จากน้ำหมักชีวภาพที่สกัดจากพืช
หรือเศษอาหารที่หมักเป็นระยะเวลานาน
จะช่วยสร้างความแข็งแกร่งทนทานต่อโรคพืชได้

การใช้สารป้องกันกำจัดควบคู่ไปกับการเพิ่ม
ธาตุอาหารให้กับต้นพืชในปริมาณที่พอเหมาะ
เป็นการชักนำการสร้างภูมิต้านทานให้กับต้นพืช
(Self-Defensive Inducer) โดยใช้ต้นทุน
ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีประสิทธิผลสูงสุด

Home               Content

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น