"ดาวเรือง" เป็นพืชในวงศ์
Compositae
พบว่ามีโรคพืชที่สำคัญคล้ายคลึงกับ
พืชในตระกูล Solanaceae
ได้แก่ พริก มะเขือ และมันฝรั่ง
โรคที่มักพบในแปลงปลูกดาวเรือง อาทิ ใบไหม้
ใบจุด ดอกเน่า ก้านเน่า ไส้กลวง เหี่ยวเขียว
การป้องกันกำจัด จึงควรปฏิบัติเช่นเดียวกัน
ควบคุมโรคทางดินด้วยเชื้อรา
Trichoderma harzianum
ควบคุมโรคทางใบด้วยเชื้อแบคทีเรีย
Bacillus subtillis
หรือป้องกันการเกิดโรคด้วยการฉีดพ่นสาร
Mancozeb อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ระยะย้ายปลูก
จนกระทั่งเก็บเกี่ยวแล้วเสร็จในฤดูกาลนั้น
หากเริ่มพบการระบาด ให้สลับมาฉีดพ่นสาร
Carbendazim และ Propineb ตามลำดับ
อาการ 'ใบไหม้' หรือ Late Blight เกิดจาก
เชื้อรา Phytophthora infestans มักจะพบ
ในสภาพอากาศ 'หนาวเย็นและมีความชื้นสูง'
สามารถเกิดได้ทุกสภาพพื้นที่
หรือแม้กระทั่งในพื้นที่เขตร้อน ซึ่งมีอุณหภูมิ
กลางวัน-กลางคืนต่างกันมากกว่า 15 'C
รวมทั้งในแหล่งปลูกที่มีการสะสมของเชื้อสาเหตุ
ซึ่ง pH ของดินมักจะต่ำกว่า 5.5 ลงไป
เชื้อราชนิดนี้อาศัยอยู่ในดินได้เป็นระยะเวลานาน
อาการที่พบ ใบจะมีสีดำเป็นวงกว้าง ไม่มีสัณฐาน
ไม่พบสปอร์ราที่ใต้ใบ เชื้อสามารถลุกลามไปได้
ทั่วทั้งลำต้นและพื้นที่อับชื้นในบริเวณทรงพุ่ม
เกษตรกรจึงควรตัดแต่งกิ่งที่ไม่มีประโยชน์
ในระหว่างและภายหลังการเก็บเกี่ยวทุกครั้ง
เพื่อป้องกันการระบาดของโรคในแปลงปลูก
หากพบการระบาดรุนแรง ไม่สามารถควบคุมได้
ควรถอนต้นทิ้ง เพื่อนำไปเผาไฟ ไม่ควรกลบฝัง
เพราะเชื้อสาเหตุสามารถเคลื่อนที่ไปกับน้ำได้
ทั้งยังจะสะสมอยู่ในพื้นที่ปลูกและรอบแปลง
เกษตรกรหมั่นตรวจ pH ดิน ให้อยู่ระดับ 6.5-7
หว่านปุ๋ยอินทรีย์ โรยปูนขาวเพื่อปรับสภาพดิน
ลดการปลูกดาวเรืองต่อเนื่องในแปลงเดียวกัน
ตัดวงจรเชื้อโรคด้วยพืชที่มีระบบรากแข็งแรง
เช่น ข้าวโพด หญ้าแฝก เพื่อช่วยให้ดินโปร่ง
สารเคมีทางการเกษตร
ที่ใช้ควบคุมการเกิดโรค "ใบไหม้" ตัวอย่างเช่น
Carbendazim (1)
Cyazofamid - Ranman (21)
Cymoxanil - Kurzate-M (27)
Dimethomorph - Forum (40)
Ethaboxam - Bokum (U)
Famoxadone - Equation (3)
Fluopicolide - Profiler (U)
Fosetyl-Aluminium (33)
Metalaxyl (4)
Phosphoric acid (33)
Propamocarb - Previcur-N (28)
Tricyclazole - Beam (16.1)
* ชื่อสามัญ - ชื่อการค้า (กลุ่มสารที่จำแนก
ในระบบ FRAC MOA Classification)
เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการควบคุม
โรคพืชสูงสุด จึงควรสลับกลุ่มสารที่ฉีดพ่น
2-3 กลุ่มต่อรุ่นการปลูก
พบว่ามีโรคพืชที่สำคัญคล้ายคลึงกับ
พืชในตระกูล Solanaceae
ได้แก่ พริก มะเขือ และมันฝรั่ง
โรคที่มักพบในแปลงปลูกดาวเรือง อาทิ ใบไหม้
ใบจุด ดอกเน่า ก้านเน่า ไส้กลวง เหี่ยวเขียว
การป้องกันกำจัด จึงควรปฏิบัติเช่นเดียวกัน
ควบคุมโรคทางดินด้วยเชื้อรา
Trichoderma harzianum
ควบคุมโรคทางใบด้วยเชื้อแบคทีเรีย
Bacillus subtillis
หรือป้องกันการเกิดโรคด้วยการฉีดพ่นสาร
Mancozeb อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ระยะย้ายปลูก
จนกระทั่งเก็บเกี่ยวแล้วเสร็จในฤดูกาลนั้น
หากเริ่มพบการระบาด ให้สลับมาฉีดพ่นสาร
Carbendazim และ Propineb ตามลำดับ
อาการ 'ใบไหม้' หรือ Late Blight เกิดจาก
เชื้อรา Phytophthora infestans มักจะพบ
ในสภาพอากาศ 'หนาวเย็นและมีความชื้นสูง'
สามารถเกิดได้ทุกสภาพพื้นที่
หรือแม้กระทั่งในพื้นที่เขตร้อน ซึ่งมีอุณหภูมิ
กลางวัน-กลางคืนต่างกันมากกว่า 15 'C
รวมทั้งในแหล่งปลูกที่มีการสะสมของเชื้อสาเหตุ
ซึ่ง pH ของดินมักจะต่ำกว่า 5.5 ลงไป
เชื้อราชนิดนี้อาศัยอยู่ในดินได้เป็นระยะเวลานาน
อาการที่พบ ใบจะมีสีดำเป็นวงกว้าง ไม่มีสัณฐาน
ไม่พบสปอร์ราที่ใต้ใบ เชื้อสามารถลุกลามไปได้
ทั่วทั้งลำต้นและพื้นที่อับชื้นในบริเวณทรงพุ่ม
เกษตรกรจึงควรตัดแต่งกิ่งที่ไม่มีประโยชน์
ในระหว่างและภายหลังการเก็บเกี่ยวทุกครั้ง
เพื่อป้องกันการระบาดของโรคในแปลงปลูก
หากพบการระบาดรุนแรง ไม่สามารถควบคุมได้
ควรถอนต้นทิ้ง เพื่อนำไปเผาไฟ ไม่ควรกลบฝัง
เพราะเชื้อสาเหตุสามารถเคลื่อนที่ไปกับน้ำได้
ทั้งยังจะสะสมอยู่ในพื้นที่ปลูกและรอบแปลง
เกษตรกรหมั่นตรวจ pH ดิน ให้อยู่ระดับ 6.5-7
หว่านปุ๋ยอินทรีย์ โรยปูนขาวเพื่อปรับสภาพดิน
ลดการปลูกดาวเรืองต่อเนื่องในแปลงเดียวกัน
ตัดวงจรเชื้อโรคด้วยพืชที่มีระบบรากแข็งแรง
เช่น ข้าวโพด หญ้าแฝก เพื่อช่วยให้ดินโปร่ง
สารเคมีทางการเกษตร
ที่ใช้ควบคุมการเกิดโรค "ใบไหม้" ตัวอย่างเช่น
Carbendazim (1)
Cyazofamid - Ranman (21)
Cymoxanil - Kurzate-M (27)
Dimethomorph - Forum (40)
Ethaboxam - Bokum (U)
Famoxadone - Equation (3)
Fluopicolide - Profiler (U)
Fosetyl-Aluminium (33)
Metalaxyl (4)
Phosphoric acid (33)
Propamocarb - Previcur-N (28)
Tricyclazole - Beam (16.1)
* ชื่อสามัญ - ชื่อการค้า (กลุ่มสารที่จำแนก
ในระบบ FRAC MOA Classification)
เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการควบคุม
โรคพืชสูงสุด จึงควรสลับกลุ่มสารที่ฉีดพ่น
2-3 กลุ่มต่อรุ่นการปลูก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น