วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2562

คุณประโยชน์ของธาตุอาหารพืช


ธาตุอาหารพืชแต่ละชนิดล้วนมีหน้าที่สำคัญ
ทำงานร่วมกัน สังเคราะห์ธาตุอาหารพืชชนิดอื่น
สร้างภูมิต้านทานการเกิดโรคและสภาวะเครียด
สังเคราะห์และรักษาระดับฮอร์โมนพืชที่มีหน้าที่
สร้างการเจริญเติบโต ขยายพันธุ์ เพิ่มปริมาณ
และควบคุมคุณภาพผลผลิต

คาร์บอน (C)
ไฮโดรเจน (H)
ออกซิเจน (O)

ไนโตรเจน (N)
สังเคราะห์ฮอร์โมนพืช Auxin, Cytokinin
สร้างการเจริญเติบโตทางปลายยอดและกิ่งก้าน
ควบคุมการออกดอกและการติดผลผลิต
ขยายขนาดผลผลิตในระยะเก็บเกี่ยว

ฟอสฟอรัส (P)
ถ่ายเทพลังงานที่ใช้เจริญเติบโตและขยายพันธุ์
ควบคุมการออกดอก ออกผลและการสร้างเมล็ด
เพิ่มปริมาณและทำให้รากพืชยืดยาว
พืชดึงดูดธาตุ Potassium มาใช้ได้มากขึ้น
สร้างความสามารถในการหาอาหารของรากพืช
ลำต้นพืชตระกูลข้าวแข็งแรงไม่ล้มง่าย
ช่วยให้พืชสามารถต้านทานโรคได้บางชนิด

โปตัสเซียม (K)
ส่งเสริมการเคลื่อนย้ายน้ำตาลจากใบ
มาเลี้ยงดอกและบำรุงผล ช่วยให้รากพืชแข็งแรง
เพิ่มคุณภาพผลผลิต สีสัน ขนาด ความหวาน
พืชต้านทานโรคบางชนิดและดินฟ้าอากาศ

แคลเซียม (Ca)
การปฏิสนธิสมบูรณ์ ดอกพัฒนาเป็นผลและเมล็ด
ช่วยให้เมล็ดมีความงอกที่ดี
พืชต้านทานสภาวะวิกฤติ Oxidative Stress
ช่วยให้พืชนำ Nitrogen จากดิน
มาใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น

แมกนีเซียม (Mg)
เป็นส่วนประกอบของส่วนที่เป็นสีเขียว
ที่มีหน้าที่สร้างอาหารและโปรตีน
สังเคราะห์กรดอะมิโน วิตามิน ไขมัน และน้ำตาล
ช่วยให้เมล็ดมีความงอกที่ดี

กำมะถัน (S)
เป็นธาตุที่เป็นองค์ประกอบในการสร้างโปรตีน
กรดอะมิโน และวิตามินที่สร้างส่วนสีเขียว
ช่วยการหายใจ และการสังเคราะห์อาหาร

เหล็ก (Fe)
สังเคราะห์ Chlorophyll รวมทั้ง ฮอร์โมนพืช
Gibberellin, Ethylene และ Jasmonic acid
ควบคุมปริมาณ IAA สร้างการเจริญทางลำต้น
ควบคุมการสุกแก่ สร้างภูมิต้านทานให้กับพืช
กระตุ้นความงอกของเมล็ด

แมงกานีส (Mn)
ควบคุมกิจกรรมของธาตุเหล็กและไนโตรเจน
สังเคราะห์ฮอร์โมนพืช Gibberellin รวมทั้งเป็น
องค์ประกอบการสร้าง IAA ในพืช สร้างช่อดอก
เรณูแข็งแรง กระตุ้นการปลดปล่อย Oxygen
ที่ใช้ในการสังเคราะห์แสง รากยืดตัวดี

ทองแดง (Cu)
เพิ่มพื้นที่ใบ สร้าง Chlorophyll สังเคราะห์แสง
เพื่อเข้าสู่ระยะใบเพสลาด ส่วนขยายพันธุ์แข็งแรง
ปฏิสนธิอย่างสมบูรณ์ เพิ่มการติดผลในพริก
ช่วยให้ดึงดูดธาตุเหล็กมาใช้ประโยชน์ได้ดีขึ้น
ป้องกันการเกิดโรคราและแบคทีเรียบางชนิด

สังกะสี (Zn)
สังเคราะห์ IAA กระตุ้นการยืดยาวทางลำต้น
เพิ่มพื้นที่ใบ สร้าง Chlorophyll สังเคราะห์แสง
เพื่อเข้าสู่ระยะใบเพสลาด ส่วนขยายพันธุ์แข็งแรง
ปฏิสนธิอย่างสมบูรณ์ เพิ่มปริมาณองุ่นดอกบาน
สังเคราะห์ Carbon, Oxygen เพื่อสร้างน้ำตาล
ที่ใช้ในการสังเคราะห์แสง ฉีดพ่นทางใบเพื่อ
ขยายขนาดทรงพุ่ม เพิ่มความสูงของต้น

โบรอน (B)
ควบคุมปริมาณ IAA ที่สร้างการเจริญทางลำต้น
ผนังเซลล์พืชมีความยืดหยุ่นแข็งแรง ออกดอกดี
ดอกเยอะ ดอกใหญ่ ส่วนขยายพันธุ์แข็งแรง
ส่งเสริมการทำงานร่วมกันของ Calcium-Nitrogen
และการดูดธาตุ Potassium มาใช้ประโยชน์
ส่งเสริมการย่อยโปรตีน, คาร์โบไฮเดรต
เพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสง ควบคุมการดูดและ
คายน้ำในขบวนการปรุงอาหาร ควบคุมการ
เคลื่อนย้ายน้ำตาลจากใบมาเลี้ยงดอก บำรุงผล
เพิ่มความสามารถของรากพืชในการดูด
ธาตุอาหารและการตรึงไนโตรเจน

โมลิบดีนัม (Mo)
ทำให้การการทำงานของ Nitrogen สมบูรณ์ขึ้น
ใช้ Nitrate สังเคราะห์โปรตีน สร้างส่วนสีเขียว
เกสรตัวผู้แข็งแรง พร้อมที่จะผสมกับเกสรตัวเมีย
ช่วยให้เมล็ดพืชแข็งแรง (Seed Vigor)

คลอรีน (Cl)
มีความสำคัญต่อกระบวนการสังเคราะห์แสง
ช่วยให้พืชแก่เร็วขึ้น ส่งเสริมการทำงาน
ของฮอร์โมนพืช ส่งเสริมการทำงานของ
Potassium ในการควบคุมการปิด-เปิดปากใบ

นิเกิ้ล (Ni)
เป็นสารสำคัญของเอ็นไซม์ที่ช่วยปลดปล่อย
ธาตุไนโตรเจนให้อยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ได้
เพิ่มอัตราการงอกของเมล็ดและสร้างความ
แข็งแรงให้กับต้นอ่อนพืช

ธาตุอาหารพืชอื่นๆ

ซิลิก้า (Si)
เป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์พืช ขยายเซลล์
พืชเจริญเติบโต สร้างภูมิต้านทาน ป้องกัน
โรค แมลง พืชไม่หักล้มง่ายเมื่อมีการยืดตัว
อย่างรวดเร็ว ท่อน้ำเลี้ยงยืดขยายอย่างแข็งแรง
พืชทนทานต่อสภาวะอากาศที่แปรปรวน
ส่งเสริมให้ฟอสฟอรัสในดินละลายออกมาดีขึ้น

Home               Content

วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2562

ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืช


ธาตุอาหารที่พืชนำมาใช้งาน เพื่อสร้างการ
เจริญเติบโตและให้ผลผลิต มีด้วยกัน 17 ธาตุ
แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่
ตามปริมาณความต้องการของพืช ดังนี้

ธาตุอาหารหลัก (Macro Nutrients)
ธาตุอาหารรอง (Micro Nutrients)
ธาตุอาหารเสริม (Trace Elements)

ธาตุอาหารหลัก (Macro Nutrients) 6 ธาตุ ได้แก่

คาร์บอน (C), ไฮโดรเจน (H), ออกซิเจน (O)
ไนโตรเจน (N), ฟอสฟอรัส (P), โปตัสเซียม (K)

ธาตุอาหารรอง (Micro Nutrients) 3 ธาตุ ได้แก่

แคลเซียม (Ca), แมกนีเซียม (Mg), กำมะถัน (S)

ธาตุอาหารเสริม (Trace Elements) 8 ธาตุ ได้แก่

เหล็ก (Fe), แมงกานีส (Mn), ทองแดง (Cu),
สังกะสี (Zn), โบรอน (B), โมลิบดีนัม (Mo),
คลอรีน (Cl), นิเกิ้ล (Ni)

ตลอดอายุการเจริญเติบโตของพืช
เริ่มตั้งแต่สร้างการเจริญเติบโต ขยายพันธุ์
ให้ผลผลิต รวมทั้งการสร้างความแข็งแกร่ง
ทนทาน สร้างภูมิคุ้มกันต้านทานศัตรูพืช
พืชจะขาดธาตุอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งไปไม่ได้
เพราะธาตุอาหารพืชทุกชนิดมีส่วนสำคัญในการ
สร้างองค์ประกอบทางกายภาพ เคมีและชีวภาพ
ของทุกช่วงการเจริญเติบโต

หลักการให้ธาตุอาหารพืช
ควรให้น้อยๆ บ่อยๆ ครั้ง ในปริมาณที่พอเหมาะ
ไม่ให้ขาด จนแสดงอาการขาดธาตุ
ไม่ให้เกิน จนแสดงอาการเป็นพิษ
เกษตรกรสามารถใส่ปุ๋ยอินทรีย์ทางดิน
เพื่อปรับสภาพดินให้เหมาะสมต่อการละลาย
ธาตุอาหารพืชในดินออกมาให้พืชดูดกิน
อีกทั้งในปุ๋ยอินทรีย์จะมีธาตุอาหารพืช
ครบชนิดตามความต้องการของพืช
หากไม่เพียงพอก็สามารถเพิ่มธาตุอาหารพืช
โดยการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบเสริมได้อีกด้วย

Home               Content

วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2562

การจัดการธาตุอาหารพืชอย่างเหมาะสม


การจัดการธาตุอาหารพืชที่เหมาะสม
จะช่วยเพิ่มผลผลิตให้กับพืชปลูกของเรา
อีกทั้งยังช่วยสร้างภูมิต้านทานศัตรูพืช
ได้อย่างมีประสิทธิผล

จุลธาตุหลายชนิดเป็นตัวชักนำ
ให้เกิด "ฮอร์โมนพืช" ในกลุ่ม
"ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช"
(Plant Growth Regulators) ได้แก่
Auxin, Gibberellin, Cytokinin, Ethylene
รวมทั้งสารสร้างภูมิต้านทานการเกิดโรคพืช
ได้แก่ Salicylic acid, Jasmonic acid เป็นต้น

จุลธาตุเหล่านี้ช่วยเสริมสร้างความสามารถ
ในการให้ผลผลิต โดยสร้างความแข็งแรง
ให้กับดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย เพื่อสร้าง
ผลผลิตที่มีคุณภาพในปริมาณที่ต้องการ

จุลธาตุบางชนิดยังมีส่วนสำคัญ
ในการช่วยลดความเครียดให้กับพืช
ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมอีกด้วย

สารกระตุ้นชีวภาพ (Biostimulants)
ก็มีส่วนสำคัญในการสร้างความแข็งแรง
และเพิ่มผลผลิตให้กับพืชผลอย่างมีนัยสำคัญ

การให้ธาตุอาหารพืชทางดิน
จะให้ประสิทธิผลในการดูดเพื่อนำไปใช้สูงที่สุด
โดยรากพืชจะทำหน้าที่ดูดกินธาตุอาหารจากดิน
เพื่อนำไปสร้างการเจริญเติบโตอย่างสมดุล

ในสภาพดินทั่วไปที่มีผลิตภาพไม่เท่าเทียมกัน
การใส่สารปรับปรุงดินที่มากหรือน้อยเกินไป
ล้วนมีผลกระทบต่อการละลายของธาตุอาหารพืช
ให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์และพืชนำไปใช้ได้
การฉีดพ่นทางใบจึงเป็นวิธีการที่เหมาะสม
ในสภาวะแวดล้อมที่ยากต่อการควบคุม
โดยใช้หลักการให้ธาตุอาหารพืช
เท่าที่พืชจำเป็นต้องใช้
น้อยๆ บ่อยๆ ครั้ง
ต่อเนื่อง ยาวนาน

สิ่งที่ได้คือ ผลผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น
พืชมีความแข็งแรง ต้านทานโรค แมลงศัตรูพืช
มีศักยภาพที่ให้ผลผลิตในปริมาณสูง  ต่อเนื่อง

Home               Content

วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2562

บทบาทของธาตุอาหารพืช


พืชเจริญเติบโตจากการได้รับธาตุอาหารพืช
เพื่อนำมาสร้างส่วนต่างๆ ของลำต้นพืช
รวมทั้งสารที่สำคัญต่อการเจริญเติบโต

พืชทุกชนิด แบ่งการเจริญเติบโตออกเป็น 3 ช่วง

เจริญเติบโตทางลำต้น
ขยายพันธุ์ (ออกดอก)
เก็บเกี่ยวผลผลิต

พืชจะนำธาตุอาหารทั้ง 17 ชนิดมาใช้ใน
ทุกระยะการเจริญเติบโต ปริมาณการใช้
ธาตุอาหารพืชแต่ละชนิดจะมากหรือน้อย
ขึ้นอยู่กับความต้องการธาตุอาหารของพืช
ในระยะการเจริญเติบโตนั้นๆ

ระยะต้นกล้า
รากพืชเป็นส่วนสำคัญต่อการดำรงชีวิต
ของต้นพืชตลอดอายุการเก็บเกี่ยว ระยะนี้จึงควร
สร้างและบำรุงรากพืชให้แข็งแรง หาอาหารเก่ง
ธาตุอาหารพืชที่จำเป็นในระยะนี้ ได้แก่
ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปตัสเซียม
เหล็ก แมงกานีส สังกะสี โบรอน

ระยะเจริญเติบโตทางลำต้น
ลำต้นจะยืดยาว แตกกิ่งก้าน ใบ
พืชสร้างและสะสมอาหารจากการสังเคราะห์แสง
เพื่อใช้ในการขยายพันธุ์และสร้างผลผลิตต่อไป
ธาตุอาหารที่พืชจำเป็นต้องใช้ ได้แก่
ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปตัสเซียม แม็กนีเซียม
เหล็ก แมงกานีส สังกะสี ทองแดง

ระยะออกดอก
พืชจะออกดอกก็ต่อเมื่อพืชเข้าสู่ระยะวิกฤติ
มีความสมบูรณ์ แข็งแรง มีธาตุอาหารพืชสะสม
เพียงพอต่อการเข้าสู่ระยะขยายพันธุ์
การจะเข้าสู่ระยะนี้ได้ ต้องมีการสะสมธาตุอาหาร
ดังต่อไปนี้
ฟอสฟอรัส แคลเซียม
เหล็ก โมลิบดีนัม สังกะสี ทองแดง โบรอน

ระยะให้ผลผลิต
ไม้ดอกจะขยายขนาด สีและกลิ่นจะเข้มข้นขึ้น
เพื่อให้เข้าสู่สภาพที่พร้อมเก็บเกี่ยว ต้นพืชจึงควร
สะสมธาตุอาหารพืชดังต่อไปนี้อย่างเพียงพอ
ไนโตรเจน โปตัสเซียม แคลเซียม แม็กนีเซียม
เหล็ก โบรอน

Home               Content

วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2562

ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช


ในจำนวนธาตุอาหารที่พืชจำเป็นต้องใช้เพื่อการเจริญเติบโตออกดอก ออกผล ซึ่งมีอยู่ 16 ธาตุนั้น มี 3 ธาตุ ที่พืชได้มาจากอากาศและน้ำ คือ คาร์บอน ( C) ไฮโดรเจน (H) และออกซิเจน (O) ส่วนอีก 13 ธาตุนั้น พืชต้องดูดดึงขึ้นมาจากดิน ซึ่งธาตุเหล่านี้ได้มาจากการผุพงสลายตัวของส่วนที่เป็นอนินทรียวัตถุและอินทรียวัตถุหรือฮิวมัสในดิน สามารถแบ่งตามปริมาณที่พืชต้องการใช้ได้ เป็น 2 กลุ่มคือ มหธาตุ และจุลธาตุ

1. มหธาตุ (macronutrients)

    มหธาตุหรือธาตุอาหารที่พืชต้องการใช้ในปริมาณมาก ที่ได้มาจากดินมีอยู่ 6 ธาตุ ได้แก่ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) และกำมะถัน (S) แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม


ธาตุอาหารหลัก หรือ ธาตุปุ๋ย ได้แ่ก่ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) เนื่องจากสามธาตุนี้พืชต้องการใช้ในปริมาณมาก แต่มักจะได้รับจากดินไม่ค่อยเพียงพอกับความต้องการ ต้องช่วยเหลือโดยใส่ปุ๋ยอยู่เสมอ


ธาตุอาหารรอง ได้แก่ แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) และกำมะถัน (S) เป็นกลุ่มที่พืชต้องการใช้ในปริมาณที่น้อยกว่า และไม่ค่อยมีปัญหาขาดแคลนในดินทั่วๆ ไปเหมือนสามธาตุแรก

2. จุลธาตุ หรือ ธาตุอาหารเสริม (micronutrients)

     จุลธาตุหรือธาตุอาหารที่พืชต้องการใช้ในปริมาณน้อย มีอยู่ 7 ธาตุ ได้แก่ เหล็ก (Fe) แมงกานีส (Mn) โบรอน (B) โมลิบดินัม (Mo) ทองแดง (Cu) สังกะสี (Zn) และคลอรีน (Cl)

     อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นธาตุอาหารในกลุ่มมหธาตุหรือจุลธาตุ ต่างก็มีความสำคัญและจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชไม่น้อยไปกว่ากัน เพราะความจริงแล้วธาตุทุกธาตุมีความสำคัญต่อการดำรงชีพของพืชเท่าๆ กัน จะต่างกันแต่เพียงปริมาณที่พืชต้องการเท่านั้น ดังนั้นพืชจึงขาดธาตุใดธาตุหนึ่งไม่ได้ หากพืชขาดธาตุอาหารแม้แต่เพียงธาตุเดียวพืชจะหยุดการเจริญเติบโต แคระแกร็น ไม่ให้ผลผลิตและตายในที่สุด


        หน้าที่ของธาตุอาหารพืช

       ธาตุอาหารพืชแต่ละชนิดมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชแตกต่างกันไป และถ้าพืชได้รับธาตุอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการ ก็จะแสดงอาการที่แตกต่างกันตามแต่ชนิดของธาตุอาหารที่ขาดแคลนนั้น


        ไนโตรเจน มีหน้าที่เป็นส่วนประกอบของโปรตีน ช่วยให้พืชมีสีเขียว เร่งการเจริญเติบโตทางใบ หากพืชขาดธาตุนี้จะแสดงอาการใบเหลือง ใบมีขนาดเล็กลง ลำต้นแคระแกร็นและให้ผลผลิตต่ำ

        ฟอสฟอรัส มีหน้าที่ช่วยเร่งการเจริญเติบโตและการแพร่กระจายของราก ควบคุมการออกดอก ออกผล และการสร้างเมล็ด ถ้าพืชขาดธาตุนี้ระบบรากจะไม่เจริญเติบโต ใบแก่จะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีม่วงแล้วกลายเป็นสีน้ำตาลและหลุดร่วง ลำต้นแกร็นไม่ผลิดอกออกผล

        โพแทสเซียม เป็นธาตุที่ช่วยในการสังเคราะห์น้ำตาล แป้ง และโปรตีน ส่งเสริมการเคลื่อนย้ายน้ำตาลจากใบไปสู่ผล ช่วยให้ผลเติบโตเร็วและมีคุณภาพดี ช่วยให้พืชแข็งแรง ต้านทานต่อโรคและแมลงบางชนิด ถ้าขาดธาตุนี้พืชจะไม่แข็งแรง ลำต้นอ่อนแอ ผลผลิตไม่เติบโต มีคุณภาพต่ำ สีไม่สวย รสชาติไม่ดี

        แคลเซียม เป็นองค์ประกอบที่ช่วยในการแบ่งเซลล์ การผสมเกสร การงอกของเมล็ด พืชขาดธาตุนี้ใบที่เจริญใหม่จะหงิกงอ ตายอดไม่เจริญ อาจมีจุดดำที่เส้นใบ รากสั้น ผลแตก และมีคุณภาพไม่ดี

        แมกนีเซียม เป็นองค์ประกอบสำคัญของคลอโรฟิลล์ ช่วยสังเคราะห์กรดอะมิโน วิตามิน ไขมัน และน้ำตาล ทำให้สภาพกรดด่างในเซลล์พอเหมาะและช่วยในการงอกของเมล็ด ถ้าขาดธาตุนี้ใบแก่จะเหลือง ยกเว้นเส้นใบ และใบจะร่วงหล่นเร็ว

        กำมะถัน เป็นองค์ประกอบสำคัญของกรดอะมิโน โปรตีน และวิตามิน ถ้าขาดธาตุนี้ทั้งใบบนและใบล่างจะมีสีเหลืองซีด และต้นอ่อนแอ

        โบรอน ช่วยในการออกดอกและการผสมเกสร มีบทบาทสำคัญในการติดผลและการเคลื่อนย้ายน้ำตาลมาสู่ผล การเคลื่อนย้ายของฮอร์โมน การใช้ประโยชน์จากไนโตรเจนและการแบ่งเซลล์ ถ้าพืชขาดธาตุนี้ ตายอดจะตายแล้วเริ่มมีตาข้าง แต่ตาข้างก็จะตายอีก ลำต้นไม่ค่อยยืดตัว กิ่งและใบจึงชิดกัน ใบเล็ก หนา โค้งและเปราะ

        ทองแดง ช่วยในการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ การหายใจ การใช้โปรตีนและแป้ง กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์บางชนิด ถ้าพืชขาดธาตุนี้ ตายอดจะชะงักการเจริญเติบโตและกลายเป็นสีดำ ใบอ่อนเหลือง และพืชทั้งต้นจะชะงักการเจริญเติบโต

        คลอรีน มีบทบาทบางประการเกี่ยวกับฮอร์โมนในพืช ถ้าขาดธาตุนี้พืชจะเหี่ยวง่าย ใบสีซีด และบางส่วนแห้งตาย

        เหล็ก ช่วยในการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ มีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์แสงและหายใจ ถ้าขาดธาตุนี้ใบอ่อนจะมีสีขาวซีดในขณะที่ใบแก่ยังเขียวสด

        แมงกานีส ช่วยในการสังเคราะห์แสงและการทำงานของเอนไซม์บางชนิด ถ้าขาดธาตุนี้ใบอ่อนจะมีสีเหลืองในขณะที่เส้นใบยังเขียว ต่อมาใบที่มีอาการดังกล่าวจะเหี่ยวแล้วร่วงหล่น

        โมลิบดินัม ช่วยให้พืชใช้ไนโตรเจนให้เป็นประโยชน์และเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โปรตีน ถ้าขาดธาตุนี้พืชจะมีอาการคล้ายขาดไนโตรเจน ใบมีลักษณะโค้งคล้ายถ้วย ปรากฏจุดเหลืองๆ ตามแผ่นใบ

        สังกะสี ช่วยในการสังเคราะห์ฮอร์โมนออกซิน คลอโรฟิลล์ และแป้ง ถ้าขาดธาตุนี้ใบอ่อนจะมีสีเหลืองซีดและปรากฏสีขาวๆ ประปรายตามแผ่นใบ โดยเส้นใบยังเขียว รากสั้นไม่เจริญตามปกติ

       เมื่อมีการปลูกพืชลงบนดิน ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงปริมาณของธาตุอาหารต่างๆ ที่มีอยู่ในดิน เนื่องจากในขณะที่พืชมีการเจริญเติบโต พืชจะดูดดึงธาตุอาหารในดินไปใช้และเก็บสะสมไว้ในส่วนต่างๆ ได้แก่ ใบ ลำต้น ดอก ผล จนถึงเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิตและนำออกไปจากพื้นที่ ธาตุอาหารที่สะสมอยู่เหล่านั้นย่อมถูกนำออกไปจากพื้นที่ด้วย นอกจากนี้ธาตุอาหารบางส่วนยังเกิดการสูญหายไปในรูปก๊าซ ถูกดินหรือสารประกอบในดินจับยึดไว้ บางส่วนถูกชะล้างออกไปจากบริเวณรากพืช หรือสูญเสียไปกับการชะล้างพังทลายของดิน

       ดังนั้นการเพาะปลูกพืชติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน โดยไม่มีการเติมธาตุอาหารลงไปในดิน ย่อมทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลง และในที่สุดดินจะกลายเป็นดินเลวปลูกพืชไม่เจริญเติบโตอีกต่อไป ในการปลูกพืชจึงต้องมีการใส่ปุ๋ยเพื่อบำรุงดิน ช่วยเพิ่มธาตุอาหารพืชและคงระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินไว้อยู่เสมอ


         อ่านต่อ....ปุ๋ยและการใช้ปุ๋ย >>>

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในเอกสาร ...

คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา. 2541. ปฐพีวิทยาเบื้องต้น . ภาควิชาปฐพีวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ.

Yara (Thailand) Ltd. ABC Guide to Mineral Fertilizers : A Basic Handbook on Fertilizers and Their Use. 28 p.

Home               Content