วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2562

บทบาทของธาตุอาหารพืช


พืชเจริญเติบโตจากการได้รับธาตุอาหารพืช
เพื่อนำมาสร้างส่วนต่างๆ ของลำต้นพืช
รวมทั้งสารที่สำคัญต่อการเจริญเติบโต

พืชทุกชนิด แบ่งการเจริญเติบโตออกเป็น 3 ช่วง

เจริญเติบโตทางลำต้น
ขยายพันธุ์ (ออกดอก)
เก็บเกี่ยวผลผลิต

พืชจะนำธาตุอาหารทั้ง 17 ชนิดมาใช้ใน
ทุกระยะการเจริญเติบโต ปริมาณการใช้
ธาตุอาหารพืชแต่ละชนิดจะมากหรือน้อย
ขึ้นอยู่กับความต้องการธาตุอาหารของพืช
ในระยะการเจริญเติบโตนั้นๆ

ระยะต้นกล้า
รากพืชเป็นส่วนสำคัญต่อการดำรงชีวิต
ของต้นพืชตลอดอายุการเก็บเกี่ยว ระยะนี้จึงควร
สร้างและบำรุงรากพืชให้แข็งแรง หาอาหารเก่ง
ธาตุอาหารพืชที่จำเป็นในระยะนี้ ได้แก่
ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปตัสเซียม
เหล็ก แมงกานีส สังกะสี โบรอน

ระยะเจริญเติบโตทางลำต้น
ลำต้นจะยืดยาว แตกกิ่งก้าน ใบ
พืชสร้างและสะสมอาหารจากการสังเคราะห์แสง
เพื่อใช้ในการขยายพันธุ์และสร้างผลผลิตต่อไป
ธาตุอาหารที่พืชจำเป็นต้องใช้ ได้แก่
ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปตัสเซียม แม็กนีเซียม
เหล็ก แมงกานีส สังกะสี ทองแดง

ระยะออกดอก
พืชจะออกดอกก็ต่อเมื่อพืชเข้าสู่ระยะวิกฤติ
มีความสมบูรณ์ แข็งแรง มีธาตุอาหารพืชสะสม
เพียงพอต่อการเข้าสู่ระยะขยายพันธุ์
การจะเข้าสู่ระยะนี้ได้ ต้องมีการสะสมธาตุอาหาร
ดังต่อไปนี้
ฟอสฟอรัส แคลเซียม
เหล็ก โมลิบดีนัม สังกะสี ทองแดง โบรอน

ระยะให้ผลผลิต
ไม้ดอกจะขยายขนาด สีและกลิ่นจะเข้มข้นขึ้น
เพื่อให้เข้าสู่สภาพที่พร้อมเก็บเกี่ยว ต้นพืชจึงควร
สะสมธาตุอาหารพืชดังต่อไปนี้อย่างเพียงพอ
ไนโตรเจน โปตัสเซียม แคลเซียม แม็กนีเซียม
เหล็ก โบรอน

Home               Content

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น