วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ลักษณะอาการขาดธาตุอาหารของพืช


อาการขาดธาตุอาหารของพืช

ไนโตรเจน (N) อาการขาด จะเจริญเติบโตช้า ใบบางมีสีเหลืองซีดทั้งแผ่น ใบต่อมากลายเป็นสีน้ำตาลและร่วงหล่น หลังจากนั้นใบด้านบนก็จะทะยอยเปลี่ยนเป็นสีเหลือง

วิธีแก้ ใช้ปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0), ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0+s) เป็นต้น

ฟอสฟอรัส (P) อาการขาด ใบล่างเริ่มเป็นสีม่วงตามแผ่นใบ ต่อมาใบเป็นสีน้ำตาลร่วงหล่น ลำต้นแคระแกร็น ไม่ผลิตดอกออกผล เนื้อไม้เปราะหักง่าย

วิธีแก้ ใส่ปุ๋ยทริปเปิล ซุเปอร์ฟอสเฟต หรือถ้าอาการไม่หนักมากใส่ ร้อคฟอสเฟต (0-3-0), ปรับ pH ของดินให้อยู่ระหว่าง 6-5 - 7, ใส่ปุ๋ยเม็ดเป็นแถบเพื่อลดพื้นที่สัมผัสระหว่างปุ๋ยฟอสเฟตกับดิน เนื่องจากดินจะตึงธาตุ P ได้ดีกว่าธาตุอื่น, เพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุให้ดินอยู่เสมอ

โพแทสเซียม (K) ใบล่างมีอาการซีดเหลืองแล้วกลายเป็นสีน้ำตาลตามขอบใบ จากนั้นลุกลามเข้ามาเป็นหย่อม ๆ ตามแผ่นใบ อาจพบว่าแผ่นใบโค้งเล็กน้อย รากเจริญเติบโตช้า ลำต้นอ่อนแอ และผลไม่โต

วิธีแก้ ในปุ๋ย โพแทสเซียมคลอไรด์ (0-0-60) อาการขาดแคลนมักเกิดในดินทราย

แคลเซียม (Ca) อาการ ใบอ่อนหงิก ตายอดไม่เจริญเติบโต อาจมีจุดดำที่เส้นใบ รากสั้น ผลแตก และคุณภาพผลผลิตต่ำ
วิธีแก้ ใส่ปูนขาว หินปูนบด และปูนมาร์ล สำหรับดินกรด, ใส่ปุ๋ยแคลเซียมไนเตรต อาการขาดมักเกิดในดินกรด

แมกนีเซียม (Mg) อาการ ใบแก่จะเหลือง ยกเว้นเส้นใบ และใบร่วงหล่นเร็ว ต้นทรุดโทรมผลผลิตลดลง
วิธีแก้ ปรับสภาพดินให้ pH อยู่ ระหว่าง 6.5 - 7, ฉีดพ่นปุ๋ยที่มีแมกนีเซียมทางใบ ไม่มากจนเกินไป

การที่พืชมีแคลเซียมในดินมากเกินไปทำให้พืชขาดธาตุแมกนีเซียมได้ และมักขาดในดินกรด

กำมะถัน (S) อาการ ทั้งใบบน และใบล่างมีสีเหลืองซีด และต้นอ่อนแอ
วิธีแก้ ใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0+s) , ใส่ปุ๋ยอื่นๆที่มีกำมะถันเป็นองค์ประกอบ เช่นยิบซัม อาการขาดมักเกิดในดินทรายที่มีอินทรีย์วัตถุน้อย

โบรอน (B) อาการ เริ่มแรกจะพบได้ที่ยอดและใบอ่อนก่อน ตายอดตายแล้วเริ่มมีตาข้าง แต่ตาข้างจะตายอีก ลำต้นไม่ค่อยยืดตัว กิ่งและใบจึงชิดกัน ใบเล็ก หนา โค้ง และเปราะ ผลเล็กและแข็งผิดปกติ มีเปลือกหนา บางครั้งผลแตกเป็นแผลได้ สำหรับพืชจะเกิดจุดสีน้ำตาลหรือดำในส่วนต่าง ๆ ของต้น โดยเฉพาะที่หัว
วิธีแก้ ฉีดพ่นธาตุอาหารเสริมที่มี โบรอน ทางใบ เป็นวิธีที่ดีที่สุด ดินด่างอาจเป็นสาเหตุของการขาดธาตุโบรอนได้ และแสดงอาการเด่นชัดมากเมื่อกระทบแล้ง หรือขาดน้ำมาก ๆ และมักเจออาการขาดในดินที่มีอินทรีย์วัตถุต่ำ

ทองแดง (Cu) อาการ ยอดตาชะงักการเจริญเติบโตและกลายเป็นสีดำ ใบอ่อนเหลือง พืชทั้งต้นชะงักการเจริญเติบโต
วิธีแก้ ฉีดพ่นธาตุอาหารพืชที่มีธาตุทองแดงทางใบ มักขาดแคลนในดินด่าง

เหล็ก (Fe) อาการ ใบอ่อนมีสีขาวซีด ในขณะที่ใบแก่ยังเขียว ปริมาณผลผลิตลดลง ขนาดของผลเล็กและผิวไม่สวย
วิธีแก้ ฉีดพ่นธาตุอาหารเสริมที่มีธาตุเหล็กทางใบ มักขาดแคลนในดินด่าง หรือเมื่อใส่ปูนมากเกินไป

แมงกานีส (Mn) อาการ ใบอ่อนมีสีเหลืองในขณะที่เส้นใบยังสีเขียว ต่อมาใบที่มีอาการดังกล่าวจะเหี่ยวและร่วงหล่น
วิธีแก้ ฉีดพ่นธาตุอาหารที่มี แมงกานีสทางใบ หากดินเป็นด่างหรือใส่ปูนขาวมากเกินไป มักทำให้ขาดธาตุแมงกานีส

โมลิบดินัม (Mo) อาการ คล้ายกับขาดไนโตรเจน (N) ใบมีลักษณะโค้งคล้ายถ้วย ปรากฎจุดเหลือง ๆ ตามแผ่นใบ
วิธีแก้ ฉีดพ่นธาตุอาหารที่มีโมลิบดินัมทางใบ มักขาดแคลนในดินที่เป็นกรด และอินทรีย์วัตถุต่ำ

สังกะสี (Zn) อาการ ใบอ่อนมีสีเหลืองซีด และปรากฎสีขาว ๆ ประปรายตามแผ่นใบ โดยเส้นใบยังเขียว รากสั้น ไม่เจริญเติบโตตามปกติ
วิธีแก้ ฉีดพ่นธาตุอาหารเสริมทางใบ ที่มีธาตุสังกะสี หากใช้ปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสฟอรัสมากเกินไป จะทำให้พืชนำธาตุสังกะสีที่ดูดได้ไปใช้ยากขึ้น

คลอรีน (Cl) อาการ พืชเหี่ยวง่าย ใบมีสีซีด และบางส่วนแห้งตาย แต่ไม่ค่อยจะแสดงอาการขาด มักจะมีอยู่ในดินอย่างเพียงพอ

Home               Content

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น