วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

Biostimulant ที่ควรรู้จัก


สารพัดสารฉีดพ่นทางใบ
ที่พวกเรารู้จักกันดี อาทิ
ปุ๋ยทางใบ เกล็ดและน้ำ
ฮอร์โมนพืช อะมิโนอาหารพืช
สารกระตุ้น สารเร่งเชิงชีวภาพ
เหล่านี้ส่วนใหญ่รวมเรียกว่า
Biostimulants

ใช้ให้น้อย ในปริมาณที่ก่อให้เกิด
ผลต่อการเจริญเติบโตของพืช
ในการสร้างหรือยับยั้ง
ภายในระยะเวลาที่ต้องการ
การต้านทานความรุนแรง
ของการเข้าทำลายของศัตรูพืช
กระตุ้นการสร้างสารสร้างภูมิคุ้มกัน
โรค แมลง สิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม

ตัวอย่างสารฉีดพ่นทางใบยอดนิยม
กรดอะมิโน ที่เป็นที่นิยมใช้งานต่อเนื่อง
มาตลอดระยะเวลามากกว่า 30 ปีทั่วโลก
ในรูปต่างๆ กัน
ช่วยสร้างการเจริญเติบโตทางลำต้น ราก
ทนแล้ง ทนร้อน ทนหนาว ทนเค็ม ทนโรค

สารกระตุ้น สารเร่งให้เกิดความต้านทานโรค
ทนต่อความเครียดในสภาพแวดล้อม
ที่ไม่เหมาะสม

ในที่นี้กล่าวได้เพียงภาพรวม
เพราะยังมีรายละเอียดที่ต้องใช้พื้นฐานความรู้
ทางด้านปฐพีวิทยา ธาตุอาหารพืช
และสารกระตุ้นการเจริญเติบโต
มาใช้ในการอธิบายพอสมควร
ไม่ยากในการทำความเข้าใจ
หากจะนำไปใช้งาน

Home               Content

วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ประโยชน์ของฮอร์โมนพืชต่อการผลิตไม้ดอก


ฮอร์โมนพืช (Phytohormones) หรือที่เรียกว่า
สารเสริมสร้างการเจริญเติบโตของพืช
(Plant Growth Regulators)
เป็นสารที่พืชสังเคราะห์ขึ้นมาเองตามธรรมชาติ
สร้างการเจริญเติบโตให้กับส่วนต่างๆ ของพืช
ได้แก่ รากพืช ลำต้น ตายอด ตาดอก ผลผลิต

ฮอร์โมนพืชที่มีประโยชน์ดังกล่าวต่อพืช ได้แก่

Gibberellin การยืดยาวของเซลล์พืช
Auxin ตายอดข่มตาข้าง
Cytokinin กระตุ้นการแตกตาข้าง
NAA กระตุ้นราก เปลี่ยนเพศดอก
CPPU ชักนำให้เกิดการผสมเทียม
Ethylene เร่งการสุกแก่ เกิดดอกตัวเมีย
Abscisic ยับยั้งการเจริญทางลำต้น

ฮอร์โมนพืชอีก 2 ชนิดที่พืชสังเคราะห์ขึ้นมา
เพื่อสร้างความแข็งแกร่ง ทนทาน ต่อต้านศัตรูพืช
และสิ่งแวดล้อมในภาวะวิกฤติให้กับต้นพืช ได้แก่

Salicylic acid พืชเจริญเติบโตดีในภาวะวิกฤติ
Jasmonic acid พืชต้านทานโรค แมลงศัตรูพืช

ปริมาณของฮอร์โมนพืชเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับ
ปริมาณของธาตุอาหารพืชที่พืชได้รับเข้าไป
การให้ธาตุอาหารพืชในระดับที่พืชต้องการ
จะช่วยให้พืชสร้างฮอร์โมนพืชเพื่อควบคุม
การเจริญเติบโตของพืชให้เป็นปกติอย่างสมบูรณ์

เกษตรกรสามารถหาซื้อฮอร์โมนพืชสังเคราะห์
ได้จากร้านค้าวัสดุอุปกรณ์การเกษตร
การใช้งานควรระมัดระวังอัตราการใช้
เพราะพืชมีความต้องการใช้งานฮอร์โมนพืช
ในปริมาณที่ไม่สูงมาก เพียงในระดับ ppm
(part per million) หรือส่วนต่อหนึ่งล้านส่วน
หากฉีดพ่นให้กับพืชในปริมาณที่มากเกินไป
จะสามารถสร้างความเสียหายให้กับต้นพืชได้

Home               Content

วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ช่องทางอาชีพของนักผลิตไม้ดอกเพื่อการค้า


ก่อนจะปลูกพืชอะไรเพื่อขายก็ตาม
ต้องสำรวจความต้องการของตลาดเสียก่อน
ในขณะเดียวกันก็ทดสอบปลูกพืชที่สนใจไปด้วย

-เพื่อหาตลาดให้กับพืชชนิดที่เราปลูกได้ดีที่สุด-

ไม้ดอกที่นิยมในตลาด มักจะเป็นชนิดฤดูเดียว
เพาะเลี้ยงขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดพันธุ์
เกษตรกรสามารถเลือกผลิต
ต้นกล้า (Pluck)
ต้นอ่อนชำถุง (Nursery Plant)
ไม้กระถาง (Pot Plant)
ไม้ตัดดอก (Cut Flower)
เพื่อส่งตลาดสด ร้านดอกไม้ ร้านต้นไม้ เกษตรกร
ห้างสรรพสินค้า พื้นที่จัดงานนิทรรศการ ฯลฯ

ไม้ดอกเป็นพืชที่ต้องการการดูแลเอาใจใส่
ส่วนใหญ่มักจะชอบสภาพอากาศเย็น แห้งแล้ง
ไม่ทนทานต่อโรค แมลงศัตรูพืช
ไม้ดอกบางชนิดต้องการสภาพอากาศเย็นจัด
เพื่อกระตุ้นความงอกของเมล็ด เช่น Lisianthus
ไม้ดอกบางชนิด ต้องการช่วงแสงยาว เช่น
เบญจมาศ (Chrysanthemum)

การปลูกไม้ดอก ควรจะปลูกในพื้นที่ขนาดเล็ก
เกษตรกรสามารถดูแลเอาใจใส่ได้ทั่วถึง
การจัดการดังเช่นพืชล้มลุกชนิดอื่น เช่น ผัก
จะทำให้ไม่สามารถได้ผลผลิตคุณภาพดี
ในปริมาณที่เพียงพอส่งมอบให้กับตลาดได้

เกษตรกรที่มีเงินทุนเพียงพอ จึงนิยมผลิตในระบบ
โรงเรือน เพื่อป้องกันลม ฝน แมลงศัตรูพืช อีกทั้ง
สามารถควบคุมอุณหภูมิในโรงเรือนให้เหมาะสม
ต่อความต้องการของชนิดไม้ดอกได้ดี

การผลิตในระบบปิดจะช่วยให้เกษตรกร
ควบคุมปัจจัยการผลิต ให้อยู่ในงบประมาณ
ที่ต้องควบคุม ช่วยลดความเสี่ยง (Risk)
ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตไม้ดอกได้

Home               Content

วันอาทิตย์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

การจัดการธาตุอาหารพืชในการผลิตไม้ดอก


พืชทุกชนิดรวมทั้ง 'ไม้ดอก' ล้วนมีความต้องการ
ธาตุอาหารพืชเพื่อสร้างการเจริญเติบโตและการ
ให้ผลผลิตแตกต่างกันออกไป
ตามระยะการเจริญเติบโตของพืช โดยที่พืชจะมี
การสะสมอาหาร ในระยะการเจริญเติบโต
ทางลำต้น เพื่อสร้างความพร้อมในการให้ผลผลิต
และเมื่อพืชสะสมอาหารเพื่อสร้างพลังงานได้อย่าง
เพียงพอ พืชจะเริ่มออกดอก ซึ่งเป็นช่วงขยายพันธุ์
หากเกสรตัวผู้และตัวเมียผสมกันได้อย่างสมบูรณ์
ไม้ดอกจะเริ่มเข้าสี กลิ่นและขยายขนาดของดอก
เพื่อเข้าสู่ระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต

หลักการให้ธาตุอาหารพืช ควรให้น้อย บ่อยครั้ง
เพิ่มปริมาณการใช้เมื่อแสดงอาการขาดแคลน
ลดปริมาณการใช้เมื่อแสดงอาการเป็นพิษ
หากใส่ธาตุอาหารพืชทางดิน ควรมีการ
ปรับความเป็นกรด-ด่างของดิน (pH)
เพื่อส่งเสริมการละลายของธาตุอาหารพืชในดิน
ออกมาให้พืชได้ใช้ประโยชน์สูงสุด
หากฉีดพ่นทางใบ ควรใช้แม่ปุ๋ยหรือปุ๋ยผสม
สูตรที่เหมาะสมกับระยะการเจริญเติบโตของพืช
อัตราการใช้ ความถี่ในการฉีดพ่น สภาพแวดล้อม
หากสภาพอากาศร้อน แล้ง ปากใบปิด
ควรงดการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ เนื่องจากสิ้นเปลือง
ธาตุอาหารพืชไม่สามารถซึมผ่านเข้าทางปากใบ
ให้เลี่ยงมาฉีดพ่นในตอนเช้ามืดที่มีอุณหภูมิต่ำ
และมีความชื้นสูง ซึ่งเป็นสภาวะที่ปากใบพืชเปิด
มีความพร้อมในการดูดซับธาตุอาหารได้สูงสุด
อีกทั้งแม่ปุ๋ยไนโตรเจนก็มีผลทำให้ใบพืชไหม้ได้

ระดับ pH ดินที่เหมาะสมต่อการปลดปล่อย
ธาตุอาหารพืชอยู่ที่ระดับ 6.5-7.0 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
ธาตุอาหารที่พืชต้องการในช่วงเวลานั้นๆ
การมีปริมาณที่เพียงพอของธาตุหนึ่ง
อาจมีผลในการลดปริมาณของอีกธาตุหนึ่ง
หากพบอาการขาดธาตุชนิดใดชนิดหนึ่ง
ก็สามารถฉีดพ่นเสริมปุ๋ยทางใบได้เช่นกัน
การควบคุม pH ดิน ซึ่งในประเทศไทยมักจะพบ
ลักษณะดินที่มีความเป็นกรด สามารถแก้ไขได้
โดยใส่ธาตุปูนลงในดิน อาทิ
ปูนขาว ปูนมาร์ล ยิปซั่ม โดโลไมท์

ปุ๋ยอินทรีย์ก็มีส่วนสำคัญต่อการปรับ pH ในดิน
รักษาสภาพโครงสร้างของดินให้โปร่ง ร่วนซุย
ระบายน้ำดี ไม่ท่วมขัง รากพืชสามารถชอนไช
หาอาหารเพื่อสร้างการเจริญเติบโตได้ดี
รวมทั้งรักษาระดับธาตุอาหารพืชในดินมิให้ขาด
เพื่อให้เพียงพอต่อปริมาณการใช้ของพืช
ตลอดอายุการเก็บเกี่ยวในฤดูปลูก

Home               Content