พืชทุกชนิดรวมทั้ง 'ไม้ดอก' ล้วนมีความต้องการ
ธาตุอาหารพืชเพื่อสร้างการเจริญเติบโตและการ
ให้ผลผลิตแตกต่างกันออกไป
ตามระยะการเจริญเติบโตของพืช โดยที่พืชจะมี
การสะสมอาหาร ในระยะการเจริญเติบโต
ทางลำต้น เพื่อสร้างความพร้อมในการให้ผลผลิต
และเมื่อพืชสะสมอาหารเพื่อสร้างพลังงานได้อย่าง
เพียงพอ พืชจะเริ่มออกดอก ซึ่งเป็นช่วงขยายพันธุ์
หากเกสรตัวผู้และตัวเมียผสมกันได้อย่างสมบูรณ์
ไม้ดอกจะเริ่มเข้าสี กลิ่นและขยายขนาดของดอก
เพื่อเข้าสู่ระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต
หลักการให้ธาตุอาหารพืช ควรให้น้อย บ่อยครั้ง
เพิ่มปริมาณการใช้เมื่อแสดงอาการขาดแคลน
ลดปริมาณการใช้เมื่อแสดงอาการเป็นพิษ
หากใส่ธาตุอาหารพืชทางดิน ควรมีการ
ปรับความเป็นกรด-ด่างของดิน (pH)
เพื่อส่งเสริมการละลายของธาตุอาหารพืชในดิน
ออกมาให้พืชได้ใช้ประโยชน์สูงสุด
หากฉีดพ่นทางใบ ควรใช้แม่ปุ๋ยหรือปุ๋ยผสม
สูตรที่เหมาะสมกับระยะการเจริญเติบโตของพืช
อัตราการใช้ ความถี่ในการฉีดพ่น สภาพแวดล้อม
หากสภาพอากาศร้อน แล้ง ปากใบปิด
ควรงดการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ เนื่องจากสิ้นเปลือง
ธาตุอาหารพืชไม่สามารถซึมผ่านเข้าทางปากใบ
ให้เลี่ยงมาฉีดพ่นในตอนเช้ามืดที่มีอุณหภูมิต่ำ
และมีความชื้นสูง ซึ่งเป็นสภาวะที่ปากใบพืชเปิด
มีความพร้อมในการดูดซับธาตุอาหารได้สูงสุด
อีกทั้งแม่ปุ๋ยไนโตรเจนก็มีผลทำให้ใบพืชไหม้ได้
ระดับ pH ดินที่เหมาะสมต่อการปลดปล่อย
ธาตุอาหารพืชอยู่ที่ระดับ 6.5-7.0 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
ธาตุอาหารที่พืชต้องการในช่วงเวลานั้นๆ
การมีปริมาณที่เพียงพอของธาตุหนึ่ง
อาจมีผลในการลดปริมาณของอีกธาตุหนึ่ง
หากพบอาการขาดธาตุชนิดใดชนิดหนึ่ง
ก็สามารถฉีดพ่นเสริมปุ๋ยทางใบได้เช่นกัน
การควบคุม pH ดิน ซึ่งในประเทศไทยมักจะพบ
ลักษณะดินที่มีความเป็นกรด สามารถแก้ไขได้
โดยใส่ธาตุปูนลงในดิน อาทิ
ปูนขาว ปูนมาร์ล ยิปซั่ม โดโลไมท์
ปุ๋ยอินทรีย์ก็มีส่วนสำคัญต่อการปรับ pH ในดิน
รักษาสภาพโครงสร้างของดินให้โปร่ง ร่วนซุย
ระบายน้ำดี ไม่ท่วมขัง รากพืชสามารถชอนไช
หาอาหารเพื่อสร้างการเจริญเติบโตได้ดี
รวมทั้งรักษาระดับธาตุอาหารพืชในดินมิให้ขาด
เพื่อให้เพียงพอต่อปริมาณการใช้ของพืช
ตลอดอายุการเก็บเกี่ยวในฤดูปลูก
ธาตุอาหารพืชเพื่อสร้างการเจริญเติบโตและการ
ให้ผลผลิตแตกต่างกันออกไป
ตามระยะการเจริญเติบโตของพืช โดยที่พืชจะมี
การสะสมอาหาร ในระยะการเจริญเติบโต
ทางลำต้น เพื่อสร้างความพร้อมในการให้ผลผลิต
และเมื่อพืชสะสมอาหารเพื่อสร้างพลังงานได้อย่าง
เพียงพอ พืชจะเริ่มออกดอก ซึ่งเป็นช่วงขยายพันธุ์
หากเกสรตัวผู้และตัวเมียผสมกันได้อย่างสมบูรณ์
ไม้ดอกจะเริ่มเข้าสี กลิ่นและขยายขนาดของดอก
เพื่อเข้าสู่ระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต
หลักการให้ธาตุอาหารพืช ควรให้น้อย บ่อยครั้ง
เพิ่มปริมาณการใช้เมื่อแสดงอาการขาดแคลน
ลดปริมาณการใช้เมื่อแสดงอาการเป็นพิษ
หากใส่ธาตุอาหารพืชทางดิน ควรมีการ
ปรับความเป็นกรด-ด่างของดิน (pH)
เพื่อส่งเสริมการละลายของธาตุอาหารพืชในดิน
ออกมาให้พืชได้ใช้ประโยชน์สูงสุด
หากฉีดพ่นทางใบ ควรใช้แม่ปุ๋ยหรือปุ๋ยผสม
สูตรที่เหมาะสมกับระยะการเจริญเติบโตของพืช
อัตราการใช้ ความถี่ในการฉีดพ่น สภาพแวดล้อม
หากสภาพอากาศร้อน แล้ง ปากใบปิด
ควรงดการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ เนื่องจากสิ้นเปลือง
ธาตุอาหารพืชไม่สามารถซึมผ่านเข้าทางปากใบ
ให้เลี่ยงมาฉีดพ่นในตอนเช้ามืดที่มีอุณหภูมิต่ำ
และมีความชื้นสูง ซึ่งเป็นสภาวะที่ปากใบพืชเปิด
มีความพร้อมในการดูดซับธาตุอาหารได้สูงสุด
อีกทั้งแม่ปุ๋ยไนโตรเจนก็มีผลทำให้ใบพืชไหม้ได้
ระดับ pH ดินที่เหมาะสมต่อการปลดปล่อย
ธาตุอาหารพืชอยู่ที่ระดับ 6.5-7.0 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
ธาตุอาหารที่พืชต้องการในช่วงเวลานั้นๆ
การมีปริมาณที่เพียงพอของธาตุหนึ่ง
อาจมีผลในการลดปริมาณของอีกธาตุหนึ่ง
หากพบอาการขาดธาตุชนิดใดชนิดหนึ่ง
ก็สามารถฉีดพ่นเสริมปุ๋ยทางใบได้เช่นกัน
การควบคุม pH ดิน ซึ่งในประเทศไทยมักจะพบ
ลักษณะดินที่มีความเป็นกรด สามารถแก้ไขได้
โดยใส่ธาตุปูนลงในดิน อาทิ
ปูนขาว ปูนมาร์ล ยิปซั่ม โดโลไมท์
ปุ๋ยอินทรีย์ก็มีส่วนสำคัญต่อการปรับ pH ในดิน
รักษาสภาพโครงสร้างของดินให้โปร่ง ร่วนซุย
ระบายน้ำดี ไม่ท่วมขัง รากพืชสามารถชอนไช
หาอาหารเพื่อสร้างการเจริญเติบโตได้ดี
รวมทั้งรักษาระดับธาตุอาหารพืชในดินมิให้ขาด
เพื่อให้เพียงพอต่อปริมาณการใช้ของพืช
ตลอดอายุการเก็บเกี่ยวในฤดูปลูก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น