การประกอบธุรกิจเกษตรในประเทศไทย
การปลูกพืชผลิตอาหารเป็นธุรกิจ SMEs ในประเทศไทยโดยผู้ประกอบการรายย่อยเมื่อเปรียบเทียบกับเกษตรกรในประเทศผู้ผลิตอาหารขนาดใหญ่เช่นในประเทศสหรัฐอเมริกา เกษตรกรไทยจึงควรทำเกษตรประณีตเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
การปลูกพืชผลิตอาหารเป็นธุรกิจ SMEs ในประเทศไทยโดยผู้ประกอบการรายย่อยเมื่อเปรียบเทียบกับเกษตรกรในประเทศผู้ผลิตอาหารขนาดใหญ่เช่นในประเทศสหรัฐอเมริกา เกษตรกรไทยจึงควรทำเกษตรประณีตเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
E-Book มาปลูกผักกันเถอะ Iceberg Delight
"100 ข้อควรรู้และตระหนัก ปลูกผักอย่างไรให้งอกงาม"
เศรษฐกิจตกสะเก็ด ต้นทุนค่าครองชีพสูงขึ้นลิบลิ่วแซงอัตราเงินเฟ้อที่รัฐบาลประกาศจนรายได้ที่รับอยู่รายเดือนวิ่งตามไม่ทัน จากสถิติต้นทุนอาหารของประชาชนในประเทศรายได้ต่ำอยู่ที่ร้อยละ 40 การผลิตอาหารกินเองดูจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดในยุคนี้
ราคาพิเศษต้อนรับเทศกาลปีใหม่ 149 บาท จากราคาปก 198 บาท
วันนี้จนถึงวันศุกร์ที่ 31 มกราคม 2568
“พริกหวาน” พืชที่นิยมปลูกในโรงเรือนระบบปิดเพื่อควบคุมคุณภาพ ความปลอดภัยของผลผลิต จากเดิมที่มีการปลูกในแปลงเปิดที่ควบคุมคุณภาพผลไม่ได้ดีเท่าที่ควร ขายไม่ได้ราคา โดยการใช้วัสดุอุปกรณ์ที่จำกัดและองค์ความรู้ในการควบคุมระบบ
ทุกวันนี้การเป็นผู้ผลิตอาหารสร้างรายได้จากการทำการเกษตรทำได้ง่ายกว่าในอดีต โดยการใช้ระบบการปลูกที่มีวางขายใน E-Marketplace มากมายหลายระบบ หลายราคาจากผู้ผลิตนับหมื่นทั้งในและต่างประเทศ โดยมีตลาดอยู่รอบบ้านเราเอง
การปลูกพืชในอดีตนิยมปลูกในแปลงขนาดใหญ่เพื่อให้พืชได้รับองค์ประกอบของการเจริญเติบโตสูงที่สุด น้ำ แสงแดด ช่องว่างระหว่างต้น แต่ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีการปลูกพืชที่ช่วยควบคุมปัจจัยการเติบโตโดยใช้พื้นที่ขนาดเล็กลงได้
ผักใบมีอายุเก็บเกี่ยวที่รวดเร็ว ปริมาณธาตุอาหารที่ต้องการต่ำกว่าพืชอายุยาวที่มีระยะออกดอกและให้ผล ซึ่งใช้ธาตุอาหารในการสร้างส่วนขยายพันธุ์ ผสมพันธุ์ ให้ผลผลิตมาก การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีธาตุอาหารไม่สูงมากจึงเพียงพอตลอดอายุเก็บเกี่ยว
นอกจากผักใบ ชาวสวนไฮโดรโปนิกส์ได้ประยุกต์ใช้ระบบการปลูกกับผักผลได้อีกหลายชนิด อาทิ มะเขือเทศ พริกหวาน พืชตระกูลแตง ผลไม้เช่น สตรอว์เบอรี่ เพื่อความง่ายในการจัดการธาตุอาหาร ลดต้นทุนวัสดุปลูกที่หายาก มีราคาแพง
เทคนิคการปลูกเริ่มต้นจากต่างประเทศที่ประสบปัญหาสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมต่อการทำการเกษตร ดินเสื่อมโทรม อากาศร้อนเกินไป หนาวเกินไป ที่ดินมีราคาแพง เกษตรกรจึงนำวิธีการปลูกนี้เข้ามาด้วยเหตุผลของตลาดโดยแท้จริง
ย่างเข้าสู่ฤดูหนาวตั้งแต่กลางเดือนกันยายน ซึ่งเป็นฤดูกาลปลูกผักตระกูลกะหล่ำในหลายพื้นที่นอกจากบนดอยสูง เกษตรกรที่เคยปลูกข้าว พืชไร่ ผักผลต่างหันมาปลูกผักใบในฤดูหนาว เพราะปลูกง่าย เจริญเติบโตเร็ว ลงทุนต่ำ เก็บเกี่ยวขายได้ไว
ประเทศไทยปลูกผักเมืองหนาวมานานกว่า 40 ปีบนพื้นที่เฉพาะที่มีสภาพอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี ดอยสูงรอบตัวจังหวัดเชียงใหม่มีความสูงหลายชั้นมากเพียงพอที่จะเป็นพื้นที่ปลูกผักเมืองหนาว โดยมี “โครงการหลวง” เป็นผู้ดูแลที่สำคัญ
ฤดูกาลนี้อากาศแห้งแล้ง หนาวเย็น แมลงศัตรูพืชรบกวนเยอะ ผักทุกชนิดราคาดี ข้าวโพดหวานก็พลอยราคาดี ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยเพราะจัดการแมลงศัตรูได้ยาก ผลผลิตเสียหายมาก เก็บเกี่ยวได้ก็ไม่อร่อยมาก หวานนิดหน่อย พอทานได้
พื้นที่ปลูกมะเขือเทศเสียหายหลายหมื่นไร่ ถึงตอนนี้ก็เห็นกันแล้วว่ามีพื้นที่ลงปลูกไปแล้วเพียงไม่กี่สิบไร่ ไม่พอส่ง 4 โรงงานสำหรับโควต้านับล้านตันส่งออก ถึงโควต้าจะลดลงบ้าง แต่ผลผลิตก็ยังขาดแคลน อาหารขาดแคลน เงินขาดมือ ไปให้สุดเลยป่ะ
ฝนตกหนัก น้ำท่วมขัง พื้นที่ทำการเกษตรเสียหาย การผลิตอาหารขาดความต่อเนื่อง ผลผลิตขาดแคลน ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค ราคาผลผลิตสูงขึ้น ต้นทุนค่าครองชีพของผู้บริโภคสูงขึ้นในรูปของเงินเฟ้อ เงินในมือลดลง
ข้าวโพดหวานฮอกไกโด กินดิบ โดนใจ
สุดยอดพันธุ์ข้าวโพดหวานแสบไส้ ปอกกินได้ทันทีตั้งแต่หักฝักจากแปลง นำมานึ่งหรือต้ม รสชาติดีๆ ก็ไม่สูญหาย เมล็ดสีขาวสว่างสดใส เคี้ยวง่ายไม่ติดฟัน ฝักเดียวอิ่มทนนาน โภชนาการสูง เซลแข็งแรง ต้านการอักเสบ ลดน้ำตาลและไขมันในเลือด
ข้าวโพดข้าวเหนียวเคี้ยวมันเพื่อฟันกราม
ดูเหมือนจะมีแต่คนไทยที่ถูกใจกับความมันในการเคี้ยวข้าวโพดข้าวเหนียวหวานมัน กว่า 300 ตันเมล็ดพันธุ์ที่จำหน่ายและปลูกขายกันทุกทิศทั่วไทย จะร้อน จะฝนหรือหนาว พวกเราคนไทยต้องได้กินข้าวโพดข้าวเหนียว เคี้ยวมันจนลืมฤดูกาล
ข้าวโพดหวาน อาหารสุขภาพ
ของอร่อยของคนชอบมัน บริหารเหงือก บริหารฟัน เคี้ยวมัน เพลิดเพลิน กับคุณค่าทางโภชนาการที่ไม่เป็นสองรองใคร พืชอาหารที่ชาวโลกพร้อมใจให้ความนิยมในการบริโภค ปลูกทั้งปีก็บริโภคกันได้ทั้งปี สแน็กสดโดนใจของคนทั่วโลก
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ยังน่าปลูกหรือไม่
พื้นที่ 6 ล้านไร่ สร้างรายได้นับหมื่นล้านบาทให้กับเกษตรกรนับแสนครัวเรือน ถึงแม้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จะเป็นพืชที่มีเจ้าภาพที่ถูกกำหนดโดยผู้ซื้อที่มีความเข้มแข็ง แต่หากในช่วงเวลาที่เหมาะสม น้ำน้อย ราคาผลผลิตดีแล้วจะรอให้โอกาสผ่านไปทำไม
อากาศร้อนจัด ปากใบปิดแน่น พืชไม่ค่อยกินปุ๋ย จะโตก็โตลำบาก เพราะขาดทั้งน้ำ ขาดทั้งอาหาร พืชมีอาการเครียดรุนแรง แทงดอกกันทั้งทุ่งตามธรรมชาติของพืชในการดำรงเผ่าพันธุ์ ฉีดพ่นสาหร่ายทะเล ธาตุอาหารรอง จุลธาตุช่วยสักหน่อยก็ดี
ปีนี้อากาศร้อนจัด แต่ก็ไม่ต่างจากทุกปี หวังแค่เพียงฝนปรอยๆ พอให้ดินชุ่มฉ่ำ ผักจะได้สดชื่น คนปลูกก็จะได้ชื่นใจ ปีหลังๆ ผักราคาแพงขึ้น เพราะมีผักออกมาน้อย อากาศร้อน ผักหลายชนิดแทงดอก ต้นพาลไม่โต หมั่นให้น้ำน้อยๆ บ่อยๆ ครั้ง
ผ่านพ้นสงกรานต์ หมดเวลาสนุกสนาน ได้เวลาลงแปลง จัดการต้นผักของเราที่รอน้ำ รอปุ๋ย รอการเอาใจใส่ดูแล สำหรับผลผลิตที่จะเก็บเกี่ยวในต้นฤดูฝนนี้ ปีนี้ก็หวังเหมือนทุกปี ขอให้ผักราคาดี มีคนซื้อเยอะๆ แม่ค้าจ่ายเงินตรงเวลา
ช่วงนี้อากาศไม่ค่อยดี แต่ก็ยังต้องเตรียมเพาะกล้าเอาไว้ลงปลูกก่อนสงกรานต์ที่จะถึงนี้ น้ำมีไม่มี ฝนมาไม่มา ไม่สน ถึงเวลาปลูกก็ต้องปลูก ค่าใช้จ่ายรออยู่ตรงหน้า อีกไม่นานลูกก็เปิดเทอมกันแล้ว คนกินก็พร้อมที่จะกินกันแล้ว จะให้รออะไร
วันนี้ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของเทศกาลปลูกผัก เกษตรกรทั่วทั้งประเทศพร้อมใจกันเตรียมแปลงเพื่อการเพาะปลูกผักต้นปีปฏิทินปีนี้ หลายพื้นที่ทั้งบนดอย พื้นราบ ที่ราบลุ่ม ไม่ว่าฝนจะตกหรือไม่ มีน้ำหรือไม่ แต่พวกเราก็เต็มใจพร้อมใจกันปลูก
ยิ่งทำ Field Force หนักๆ การทำ Sales Force ก็จะยิ่งเบาลง การทำ Demand Creation จึงเป็นสิ่งรับประกันว่าจะมีผู้ใช้สินค้าของเราแน่ๆ การหาช่องทางการขายให้ถึงตัวผู้ใช้จึงเป็นหน้าที่ของพนักงานขาย มิใช่เพียงพนักงานส่งเสริมการขายเท่านั้น
ความท้าทายขั้นสูงสุดของการทำธุรกิจคือการที่ผู้ประกอบการสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ตรงจุดโดนใจ ทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิตประจำวันของลูกค้าโดยไม่เป็นส่วนเกิน ไม่เคอะเขินแปลกแยก
ความต้องการมีอยู่ทุกที่ทั่วโลกด้วยองค์ประกอบของความต้องการที่แตกต่างกันไป ถึงแม้คนบางกลุ่มจะดูเหมือนไม่ใช่ลูกค้า แต่หากผู้นำเสนอสามารถอธิบายได้ถึงความจำเป็นที่พวกเขาต้องครอบครองสินค้า เขาก็จะซื้อเพื่อสนองความต้องการนั้น
ทุกโอกาสทางธุรกิจเริ่มต้นจากความต้องการของลูกค้าในตลาด ใครคือเป้าหมายของเรา อะไรคือองค์ประกอบของการตัดสินใจซื้อหาสินค้า ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นเพียงการเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขัน แต่ไม่ได้ตอบความต้องการของตลาด
เกษตรกรต้องการเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ แข็งแรง ตรงตามพันธุ์ ความงอกดี ไม่ขออะไรมากไปกว่านี้ ไม่อยากเสียเวลามานั่งเคลมสินค้าซึ่งเป็นกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ เสียโอกาสสร้างรายได้จากผลผลิตและช่วงเวลาที่ผลผลิตเก็บเกี่ยว
เกษตรกรมักเลือกพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง วัตถุประสงค์เพื่อสร้างรายได้สูง คุณภาพผลผลิตดี รสชาติดี สีสวย ถูกปากผู้บริโภค เป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้า สร้างโอกาสในการขาย เร่งรัดให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อรวดเร็วขึ้น ขายได้ราคาสูงขึ้น
เกษตรกรเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ตามลักษณะพันธุ์ที่ตลาด ซึ่งก็คือผู้ค้าผลผลิตต้องการ เพื่อให้ขายได้ราคา แต่ทั้งนี้ก็สามารถผลิตพันธุ์ที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคแล้วจำหน่ายโดยตรงไปยังผู้บริโภคได้ แตกต่างกันที่รูปแบบการทำการตลาด
พันธุ์พืชการค้าที่ดีมีอยู่เต็มตลาด ล้วนมีข้อดี เป็นประโยชน์ทั้งต่อผู้ปลูก ผู้ค้าและผู้บริโภค เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องตัดสินใจเลือกใช้ การทำการตลาดสื่อสารโดยตรงไปยังทุกคนนั้นเป็นสิ่งจำเป็น หาไม่ก็ไม่สามารถแข่งขันกับผู้นำในตลาดได้
ในปี 2566 ประเทศไทยส่งออกเมล็ดพันธุ์ไปยัง 25 ประเทศทั่วโลก เป็นปริมาณ 36,917.88 ตัน ด้วยมูลค่า 9,254.47 ล้านบาท ขณะที่มูลค่าการค้าเมล็ดพันธุ์ภายในประเทศอยู่ในระดับสูงกว่า 6 พันล้านบาท ด้วยอัตราการเติบโตคงที่
มีหลายบริษัทระดับโลกที่กำลังแข่งขันกันในเรื่องการพัฒนาพันธุ์พืชที่เหมาะสมกับตลาด จึงเป็นโอกาสที่ดีของเกษตรกรในการคัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสมกับกิจการ SMEs ของตน เพื่อลดระยะทางสร้างความต้องการของตลาดด้วยพันธุ์พืชที่ดี
ลักษณะมาตรฐานของพันธุ์พืชที่ดีต้องทนทานต่อสภาพอากาศ ปรับตัวได้ดีกับสภาพแวดล้อมที่แตกต่าง แปรปรวน ทนแล้ง ทนฝน แข็งแรงทนทานต่อโรค ให้ผลผลิตสูง น้ำหนักดี สีสวย รสชาติดี อายุเก็บเกี่ยวเร็ว เก็บเกี่ยวได้ยาวนาน
โลกมีความเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงในชั้นบรรยากาศ เกิดจากอุณหภูมิเฉลี่ยที่เพิ่มสูงขึ้น สายพันธุ์พืชที่เป็นอาหารของมนุษย์มีการปรับตัวไม่ทันกับสภาวะอากาศ การปรับปรุงพันธุ์โดยตั้งใจของมนุษย์จึงช่วยให้พันธุ์พืชมีการจัดการที่ง่ายขึ้น
ชาวโลกยังมีความต้องการอาหารในปริมาณที่มากและหลากหลายชนิดมากขึ้น การคิดค้นพันธุ์พืชที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อจึงเป็นโอกาสของนักปรับปรุงพันธุ์พืชที่จะปลดปล่อยพันธุ์พืชที่ดี แปลกใหม่ รสชาติดีออกมา