ธุรกิจเมล็ดพันธุ์ในประเทศไทย
ในปี 2566 ประเทศไทยส่งออกเมล็ดพันธุ์ไปยัง 25 ประเทศทั่วโลก เป็นปริมาณ 36,917.88 ตัน ด้วยมูลค่า 9,254.47 ล้านบาท ขณะที่มูลค่าการค้าเมล็ดพันธุ์ภายในประเทศอยู่ในระดับสูงกว่า 6 พันล้านบาท ด้วยอัตราการเติบโตคงที่
ในปี 2566 ประเทศไทยส่งออกเมล็ดพันธุ์ไปยัง 25 ประเทศทั่วโลก เป็นปริมาณ 36,917.88 ตัน ด้วยมูลค่า 9,254.47 ล้านบาท ขณะที่มูลค่าการค้าเมล็ดพันธุ์ภายในประเทศอยู่ในระดับสูงกว่า 6 พันล้านบาท ด้วยอัตราการเติบโตคงที่
มีหลายบริษัทระดับโลกที่กำลังแข่งขันกันในเรื่องการพัฒนาพันธุ์พืชที่เหมาะสมกับตลาด จึงเป็นโอกาสที่ดีของเกษตรกรในการคัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสมกับกิจการ SMEs ของตน เพื่อลดระยะทางสร้างความต้องการของตลาดด้วยพันธุ์พืชที่ดี
ลักษณะมาตรฐานของพันธุ์พืชที่ดีต้องทนทานต่อสภาพอากาศ ปรับตัวได้ดีกับสภาพแวดล้อมที่แตกต่าง แปรปรวน ทนแล้ง ทนฝน แข็งแรงทนทานต่อโรค ให้ผลผลิตสูง น้ำหนักดี สีสวย รสชาติดี อายุเก็บเกี่ยวเร็ว เก็บเกี่ยวได้ยาวนาน
โลกมีความเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงในชั้นบรรยากาศ เกิดจากอุณหภูมิเฉลี่ยที่เพิ่มสูงขึ้น สายพันธุ์พืชที่เป็นอาหารของมนุษย์มีการปรับตัวไม่ทันกับสภาวะอากาศ การปรับปรุงพันธุ์โดยตั้งใจของมนุษย์จึงช่วยให้พันธุ์พืชมีการจัดการที่ง่ายขึ้น
ชาวโลกยังมีความต้องการอาหารในปริมาณที่มากและหลากหลายชนิดมากขึ้น การคิดค้นพันธุ์พืชที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อจึงเป็นโอกาสของนักปรับปรุงพันธุ์พืชที่จะปลดปล่อยพันธุ์พืชที่ดี แปลกใหม่ รสชาติดีออกมา